ข่าวการศึกษา

อุบลราชธานี รอง ผอ.เขตพื้นที่ภาคอีสาน ยื่นคำร้องสอดต่อศาลปกครองอุบลราชธานีเกี่ยวกับการคัดเลือกบรรจุแต่งตั้งเป็น ผอ.เขต.(สพฐ.)

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณี ดร.ประดู่ นามเหลา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต.3 และคณะรอง. ผอ.เขต.ในพื้นที่ภาคอีสาน ได้ยื่นฟ้องคดีที่ศาลปกครองอุบลราชธานี เกี่ยวกับการสรรหาเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากได้พบข้อพิรุธ ในเอกสาร หลักฐาน และพยานวัตถุที่เป็นข้อสำคัญในคดี เกี่ยวกับการดำเนินการประเมินให้คะแนน ภาค. ข. และ ภาค. ค. ของคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีการประเมินให้คะแนนไปตามอำเภอใจ โดยไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตํ่า และรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความสามารถทางการบริหาร หรือประวัติและประสบการณ์ทางการบริหารแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บุคคลผู้มีประวัติ และประสบการทางการบริหารตํ่า เช่น ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาเพียง 1 – 2 ปี ก็มีคุณสมบัติเทียบเท่าบุคคลผู้มีประวัติ และประสบการณ์มากว่า 15 – 20 ปี

ล่าสุด ดร.ประดู่ นามเหลา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต.3 เดินทางมาที่ศาลปกครองอุบลราชธานี ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พร้อมทีมที่ปรึกษากฎหมาย พานายสมปอง ชินตะวัน รอง.ผ.อ.สพป.อบ.3 เพื่อมายื่นคำร้องสอดเข้าไปใน คดีหมายเลขดำที่ บ.92/2565 ระหว่าง ดร.ประดู่ นามเหลา (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออก กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด โดยไม่สุจริต มีลักษณะเป็นการเลือกปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบ

นายสมปอง ชินตะวัน รอง.ผ.อ.สพป.อบ.3 กล่าวว่า ตนเองมีความประสงค์สมัครใจเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดใน คดีหมายเลขดำที่ บ.92/2565 เนื่องจากตนมีส่วนได้เสียอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องไกล่ชิดกัน หรือมีคู่กรณีเดียวกัน สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ออก กฎ ในรูปของหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ ว 12 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2566) ประกอบประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษา ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2565 มีมาตรฐานในการปฎิบัติราชการตํ่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 การที่ ก.ค.ศ.ออกหลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีมาตรฐานตํ่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง นั้น น่าเชื่อว่า มีเหตุจูงใจให้ ก.ค.ศ.ได้ประโยชน์อย่างใดที่มิอาจก้าวล่วงได้ เพราะจากการที่ตนได้ยื่นหนังสือขอตรวจดูเอกสารผลการตรวจคะแนนสอบของตนจาก ก.ค.ศ. แต่ไม่อนุญาต ตนจึงได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร จึงได้ทราบว่า ก.ค.ศ. อาศัยช่องว่างที่ออกหลักเกณฑ์ฯ มีมาตรฐานตํ่ามากรอกคะแนนให้ตนและคนอื่นๆที่เข้าสอบในครั้งนี้ ได้คะแนนตํ่ากว่าคะแนนที่สอบได้จริงผิดพลาดอย่างร้ายแรงเป็นวงกว้าง จนตนและผู้เข้าสอบคนอื่นๆร้องคัดค้านโต้แย้งกันทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ต่อมาในภายหลัง ก.ค.ศ. ลุแก่โทษ จึงมาแก้ไขยกเลิกคำสั่งบรรจุแต่งตั้ง ผอ. เขต.ขึ้นมาใหม่โดยมีเงื่อนงำที่ไม่สุจริตอย่างเห็นได้ชัด เพราะ ก.ค.ศ. ปฎิบัติละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินการร้องทุกข์ ฟ้องคดีกับบุคคลที่ทำให้ราชการเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ซึ่งอาศัยจะมีการสมคบคิดกันกับผู้เกี่ยวข้องที่ร่วมกระทำผิด ตนเห็นว่าผู้เข้าสอบคนอื่นๆทั่วประเทศไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้รับผลกระทบจากพฤติการณ์การกระทำของ ก.ค.ศ ดังกล่าวไม่สุจริต เที่ยงธรรม จึงมายื่นคำร้องสอดต่อศาลปกครองอุบลราชธานี เพื่อพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องนี้ต่อไป นายสมปอง ชินตะวัน กล่าว..