วิถีชีวิต

หนองบัวลำภู ขับเคลื่อนศรีบุญเรืองเมือง 4 ดี ( 4 Good ) งานบุญข้าวประดับดิน” หิ้วตระกร้า สวมผ้าไทย จูงมือคนสามวัย ใส่บาตรวันพระ สิ่งของที่เหลือเผื่อแผ่ผู้ด้อยโอกาสและตกทุกข์ยาก (สร้างฝันปันสุข)

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาบริเวณรอบศาลาวิโรจน์ธรรมรักษาประชาสรรค์ วัดศรีสมพร บ้านหนองแก ต.หนองแก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู นายเพทาย จรกระโทก นายอำเภอศรีบุญเรือง นำหัวหน้าส่วนราชการอำเภอศรีบุญเรือง นางรุจิรา จรกระโทก แม่บ้านมหาดไทย อำเภอศรีบุญเรือง ปลัดอาวุโสอำเภอศรีบุญเรือง ป้องกันจังหวัดหนองบัวลำภู ประมงอำเภอศรีบุญเรือง พร้อมด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันตำบลหนองแก บูรณาการ 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อน โมเดลการพัฒนา ศรีบุญเรืองเมือง 4 ดี ( 4 Good) ดี 1 จิตใจดี

โดยร่วมทำบุญงานบุญข้าวประดับดิน” หนึ่งในประเพณีการทำบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว พร้อมร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง สิ่งของที่เหลือเผื่อแผ่ผู้ด้อยโอกาสและตกทุกข์ยาก(สร้างฝันปันสุข) เพื่อให้คนทุกวัย ในชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสมานสมัครสามัคคี เสียสละและเอื้ออาทร เอื้ออาทร เพื่อเป็นพลังสำคัญในการ Change for Good สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อเป็นการทะนุบำรุงพุทธศาสนาตามวิถีชาวพุทธ ภายใต้” โครงการ ชาวศรีบุญเรืองร่วมใจ หิ้วตะกร้า สวมผ้าไทย จูงมือคนสามวัย ใส่บาตรวันพระ” ซึ่งเป็นหมู่บ้านโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งหมู่บ้านยังยืน (Sustainable Village) ตาม นโยบายของกระทรวงมหาดไทย

นายเพทาย จรกระโทก นายอำเภอศรีบุญเรือง กล่าวว่าการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว เป็นการนำวัฒนธรรมประเพณี วิถีชาวพุทธ มาบูรณาการร่วมกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการส่งเสริมให้ประชาชนสวมใส่ผ้าไทย และร่วมกันส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP) และนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ต้องการสร้างพลังแห่งเมือง เพื่อให้คนทุกวัย ในชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสมานสมัครสามัคคี เสียสละและเอื้ออาทร เอื้ออาทรเพื่อเป็นพลังสำคัญในการ Change for Good สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดกิจกรรมตามโครงการนอกจากอำเภอจะดำเนินการในหมู่บ้านเป้าหมายซึ่งเป็นหมู่บ้านตาม “โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งหมู่บ้านยังยืน” แล้ว ยังกำหนดให้ทุกหมู่บ้าน จัดกิจกรรมพร้อมกัน ทุกวันพระ อีกด้วย และ หลังจากที่พระสงฆ์รับบิณฑบาตแล้วได้นำข้าวสารอาหารแห้งส่วนหนึ่งทำเป็นถุงยังชีพ “ถุงความห่วงใย” มอบให้แก่ผู้ยากไร้ต่อไป

ขณะที่พระครูวิโรจน์ธรรมรักษ์ เจ้าอาวาสวัดศรีสมพร เจ้าคณะตำบลหนองแก รองเจ้าคณะอำเภอศรีบุญเรือง กล่าวว่าสืบเนื่องจากวันนี้เป็นวันพระแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเดินทางไปที่วัดตั้งแต่ตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง ไปวางไว้เป็นระยะ ตามจุดต่าง ๆ ตามข้างวัด กำแพงวัด หรือตามกิ่งไม้ ซึ่งเป็นการไปวางแบบเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้องหรือตีกลองแต่อย่างใด หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารไปทำบุญที่วัดอีกครั้งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน หลังจากที่ชาวบ้านที่มาทำบุญในตอนเช้า หลังจากถวายปัจจัยเสร็จแล้ว ก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

“บุญข้าวประดับดิน” ก็เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ ยังทำบุญให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์โลกที่ไม่มีเจ้าของ ให้สามารถมากินอาหารได้อย่างเต็มที่อีกด้วย ชาวบ้านเชื่อกันว่า ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเปรต สัตว์นรกต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการนำอาหารคาวหวานมาวางไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ยายห่อข้าวน้อย” โดยคำว่า ยาย หมายถึงการวางเป็นระยะ ๆ เพื่อให้วิญญาณได้มารับอาหารที่ชาวบ้านนำมาทำบุญ นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้กับผู้ยากไร้ และสัตว์จรจัดที่หิวโหย

โดยวันนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเปรต สัตว์นรกต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการนำอาหารคาวหวานมาวางไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ยายห่อข้าวน้อย” อาหารที่ห่อใส่ไว้ในใบตอง ได้แก่ ข้าวเหนียวนึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน ใส่เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมูลงไปเล็กน้อย กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ

“ยายห่อข้าวน้อย” โดยคำว่า ยาย หมายถึงการวางเป็นระยะ ๆ เพื่อให้วิญญาณได้มารับอาหารที่ชาวบ้านนำมาทำบุญ นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้กับผู้ยากไร้ และสัตว์จรจัดที่หิวโหย มาจากความเชื่อในนิทานพระธรรมบทที่ว่า ในสมัยพุทธกาล มีญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตน เมื่อตายไปจึงกลายเป็นเปรต จึงเป็นประเพณีที่ชาวอีสานเชื่อกันว่าพอมาถึงวันนี้ญาติพี่น้องจึงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลไปด้วย ให้สามารถมากินอาหารได้อีกด้วยดังนั้น บุญข้าวประดับดิน จึงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ และเปรต ในทุก ๆ ปี

อัพเดทล่าสุด เมื่อ 15/09/2023 14:52 น. by อินทรีภูพาน