วิถีชีวิต

ขอนแก่น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ จังหวัดขอนแก่น ร่วมเชิดชูอัตลักษณ์หมอลำ กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ในงานมหกรรมหมอลำพื้นบ้าน ออนซอนอีสาน ฮีต 12 ตามฮอยอีสาน ในงานเทศกาลไหมฯ ประจำปี 2566

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 15 ก.ย. 2566 ที่ ห้องประชุมแก่นเมือง ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเตรียมงานมหกรรมหมอลำพื้นบ้าน ออนซอนอีสาน ฮีต 12 ตามฮอยอีสาน ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น และงานขอนแก่นซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2566 และการประชุมคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่นครั้งที่ 4/2566 โดยมี ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ ประธานสภาวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นางกมนรัตน์ สิมมาคำ วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ 26 อำเภอ ศิลปินแห่งชาติ และเครือข่ายศิลปินหมอลำพื้นบ้านภาคอีสาน ผู้ประกอบการผ้าไทยและภาคีเครือข่ายร่วมการประชุม

นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า จากนโยบายของนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายหลายๆด้านต่อรัฐสภา ในด้านของศิลปวัฒนธรรมได้พูดถึงเรื่องของ soft power เป็นอีกสาขาหนึ่งที่จะสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ ซึ่งภารกิจที่กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการนั้นมีศักยภาพใน 5 ด้านที่เรียกว่า 5F ได้แก่ F-Food อาหาร, F-Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์, F-Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย, F-Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย และ F-Festival เทศกาลประเพณีไทย สู่ระดับโลก เพื่อช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ทั้งมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ

“การจัดงานการจัดงานมหกรรมหมอลำพื้นบ้าน ฮีตสิบสอง ตามฮอยอีสาน ในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น และ งานขอนแก่น ชอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2566 สภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ขับเคลื่อนงานร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น และภาคีเครือข่ายวัฒนธรรม เพื่อยกระดับหมอลำพื้นบ้านอีสานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัดให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวของจังหวัด”

นายโกวิท กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวัฒนธรรม ได้มาดูเรื่องของ soft power ของจังหวัดขอนแก่น โดยเห็นว่า สัญลักษณ์หรืออัตลักษณ์สำคัญที่สุดของจังหวัดขอนแก่น คือ “หมอลำ” ซึ่งเป็นที่ประจักษ์มาอย่างช้านานในประเทศไทย ศักยภาพของหมอลำมีทั้งในเชิงของคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมบูรณาการจัดงานเทศกาลไหมฯ และสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้นำเสนอ มหกรรมหมอลำจาก 20 จังหวัดในภาคอีสาน เพื่อแสดงศักยภาพเชิงมิติทางด้านสังคมและมิติทางด้านเศรษฐกิจ ว่าหมอลำเคยมีศักยภาพในการสร้างเม็ดเงินมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ก่อนสภานการณ์โควิด แต่เมื่อโควิดเข้ามาหลายๆอย่างก็ลดน้อยถอยลง แต่ขณะนี้สถานการณ์กลับขึ้นมาสู่ปกติแล้ว

ฉะนั้น หมอลำซึ่งเป็น soft power สำคัญในสาขาศิลปะการแสดงของจังหวัดขอนแก่นจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เพิ่มคุณค่าทางสังคมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่จังหวัดขอนแก่นและประเทศไทยในภาพรวมต่อไปซึ่งหนี้เป็นที่ไปที่มาของการจัดมหกรรมหมอลำในครั้งนี้

อัพเดทล่าสุด เมื่อ 15/09/2023 16:35 น. by อินทรีภูพาน