ข่าวสังคม

ชัยภูมิ เร่งเดินหน้าสร้างเสริมสุขภาพพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

วันที่ 18 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมสยามรีเวอร์รีสอร์ท ในเมืองชัยภูมิ หน่วยจัดการร่วมกับ สสส. ในระดับพื้นที่ (Node)” สำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก จังหวัดชัยภูมิ จัดการปฐนิเทศการเขียนโครงการสนับสนุน โครงการจาก สสส. สร้างเสริมสุขภาพชุมชนขนาดเล็กปี เพื่อพัฒนาให้เกิดชุมชนเข้มแข็งที่มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพและจัดการตนเองในจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 32 ชุมชนโครงการกิจกรรมภายใต้กรอบ 8 ประเด็น ได้แก่การลด ละ เลิก ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญงานประเพณี การจัดการขยะ ส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียน การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน และการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน การลด ละ เลิกบุหรี่/ยาสูบโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยศิลปวัฒนธรรมไทย

โดย จ.ชัยภูมิ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 1,139,023 คน จำแนกเป็น ชาย 564,464 คน หญิง 574,559 คน มีอัตราเด็กแรกเกิด 0 – 4 ปีต่ำ สำหรับในระยะ 20 ปีข้างหน้า โครงสร้างประชากรจังหวัดชัยภูมิจะประสบปัญหาประชากร วัยแรงงานน้อยลง และมีประชากรอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสูงขึ้น ด้านประชากรพบว่ามีประชากรกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน พบว่าปัญหาสังคมผู้สูงอายุของจังหวัดชัยภูมิ เพิ่มขึ้นทุกปี จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 171,827 คน คิดเป็นร้อยละ 18.48 ของจำนวนประชากร ซึ่งเป็นจังหวัดที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นจังหวัดสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีกไม่นาน ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ คือ เบาหวานความดันโลหิตสูงอัมพฤกษ์ อัมพาต และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อให้หน่วยจัดการ สสส (node) จังหวัดชัยภูมิ มีคณะทำงานและพี่เลี้ยงโครงการย่อย ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาโครงการ การเก็บข้อมูล การติดตามประเมินผลลัพธ์ รวมถึงการถอดบทเรียน เพื่อสนับสนุนให้โครงการย่อยสามารถดำเนินโครงการบรรลุตามผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แพื่อให้หน่วยจัดการ สสส (node) จังหวัดชัยภูมิ มีคณะทำงานและพี่เลี้ยงโครงการย่อย ที่มีขีดความสามารถในการพัฒนาโครงการ การเก็บข้อมูล การติดตามประเมินผลลัพธ์ รวมถึงการถอดบทเรียน เพื่อสนับสนุนให้โครงการย่อยสามารถดำเนินโครงการบรรลุตามผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และ/หรือเกิดสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ จึงได้จัดการปฐนิเทศเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ ทั้ง 16 อำเภอ ทั้งเขียนโครงการ และการขัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ที่มีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ และจัดการตนเองในจังหวัดชัยภูมิ

นางปริยกร ชาพรม อายุ 52 ปี หัวหน้าโครงการโครงการหน่วยจัดการ ระดับจังหวัดสำหรับโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) บอกว่าโครงการชัยภูมิร่วมสร้างสุข จะลงสู่พื้นที่ทั้ง 16 อำเภอ จ.ชัยภูมิ มาดูแลสุขภาพของประชาชนทั้งผู้สูงอายุ การลด ละ เลิก ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานบุญงานประเพณี การจัดการขยะ การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน ด้วยงบ 1.4 ล้านบาท ใน 20 ชุมชน 16 อำเภอ เพื่อจัดการตนเองในชุมชนให้เกิดความเข็มแข็งอย่างยังยืนตลอดไป