ข่าวสังคม

นครพนม วางแผนจัดพื้นที่ให้กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยบริเวณโดยรอบบริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม

วันที่ 25 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานที่ห้องประชุมย่อย วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร นายนิพพิชฌน์ อติอนวรรน์ นายอำเภอธาตุพนม นายสุพจน์ ผิวดำ ปลัดอำเภอ หน.กลุ่มงานบริหารงานปกครอง พ.ต.อ. ถวิล คำเกษ ผบ.กก.ธาตุพนม พร้อมคณะกรรมการ แขวงการทางหลวง กองช่างเทศบาลธาตุพนม ร่วมกันประชุมปรึกษาวางแผนลำดับขั้นตอนการจัดพื้นที่ให้กับกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่อยู่บริเวณหน้าวัดที่อยู่ระหว่างการผ่อนปรนอยู่ในขณะนี้มายังพื้นที่ คณะกรรมการจะดำเนินการเตรียมสถานที่ให้ เนื่องจากสถานที่จะทำการก่อสร้างจะเป็นขนาดใหญ่ไม่มีเสากลาง โดยมีความกว้าง 14ม. ความยาว 130ม. ติดตั้งคล่อมบนถนนตั้งแต่ทางแยกซุ้มเล็กประตูวัดพระธาตุพนมพาดยาวผ่านหน้าร้านอะเมซอนถึงสามแยกร้านวันใหม่ผ้าไทย ซึ่งจะต้องมีหนังสือถึงขอใช้พื้นที่ดังกล่าว พร้อมกับจัดระบบการเดินรถให้สอดคล้องต่อการดำเนินงานเตรียมก่อสร้างโดมโดยที่จะไม่กระทบต่อผู้ค้าเดิมแห่งนี้ และหากการจัดเส้นทางเดินรถแล้วเสร็จ จะเร่งติดตัังเต๊นท์ชั่วคราวเพื่อย้ายผู้ค้าจากบริเวณลานด้านหน้าของวัดมาได้ทันที

สำหรับการก่อสร้างโดม ที่ประชุมเสนอให้ทางเทศบาลธาตุพนมออกแบบรูปสร้างการก่อสร้างทรงโดมให้ลักษณะที่สอดรับกับทางสถาปัตยกรรมที่สวยงาม คาดว่าจะเร่งดำเนินออกแบบและคัดเลือกผู้รับเหมาที่น่าเชื่อ เพื่อให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน ส่วนกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย พบว่ายังมีคงผู้มีอิทธิพลบางคนยังคงพยายามปลุกปั่นปล่อยข่าว เพื่อให้กลุ่มผู้ค้าได้รับข่าวสารที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง โดยต่อจากนี้การให้หรือต้องการทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ นายอำเภอธาตุพนม คือนายนิพพิชฌน์ อติอนวรรน์ เท่านั้นจะเป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารโดยตรงตามฉันทมติจากการประชุมครั้งที่ผ่าน โดยมีนายวันชัย จันทร์พร ผจก.นครพนม เป็นประธานฯ

กรณีถนนชยางกูรที่พาดผ่านหน้าวัดพระธาตุพนม ยืนยันได้หรือไม่ว่าอยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ นายนิพพิชฌน์ อติอนวรรน์ นายอำเภอธาตุพนมได้กล่าวยืนยันอย่างหนักแน่นว่า พื้นที่ถนนดังกล่าว กรมทางหลวงได้ขอก่อสร้างถนนชยางกรูผ่านพื้นที่ของวัด ต่อมาเมื่อการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองแล้วเสร็จ กรมทางหลวงโดยแขวงการทางนครพนมได้ยกพื้นที่ถนนตั้งสี่แยกโลตัสตรงผ่านหน้าวัดพระธาตุพนมจนถึงโค้งไปบ้านต้อง ให้อยู่เทศบาลตำบลธาตุพนมรับผิดชอบบำรุงรักษา จึงขอยืนยันอีกครั้งว่า ถนนชยางกูรสร้างอยู่ที่ธรณีสงฆ์ของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร