ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการแถลงข่าว ณ บริเวณลานวัดลานบุญ วัดสุวนาราม บ้านโคกล่าม ต.นากอก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู พระอุดมคุณาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประธานเปิดการแถลงข่าวงานสืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น (ประเพณีบุญข้าวสาก) 1 งานบุญประเพณี 1 งานบุญปลอดเหล้า ประเพณีบุญเดือน 10 ของชาวอีสาน ที่ลูกหลานต้องตอบแทนผู้มีพระคุณทั้งที่ยังมีอยู่และล่วงลับไปแล้ว เป็นกิจกรรมขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมดี 1 ใน 4 ยุทธศาสตร์ ศรีบุญเรือง เมือง 4 ดี ท่ามกลางสายฝนที่ตกปรอยๆตลอดทั้งวัน




















โดยมี พระครูปริยัติโชติการ เจ้าคณะอำเภอศรีบุญเรือง นางสาวพัชนี สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู นายเพทาย จรกระโทก นายอำเภอศรีบุญเรือง นางศรัณยา สุวรรณพรหม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู นายอิ๊ด รัศมีเดือน ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอศรีบุญเรือง ร่วมแถลงข่าว พร้อมมีเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดหนองบัวลำภู และ สมัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมกันแถลงข่าวบุญประเพณีบุญข้าวสาก “งานบุญวันสารทไทยของชาวอีสาน” ตามความเชื่อเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณของงานสารทเดือนสิบ พิธีสำหรับทำบุญไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ในโอกาสนี้มี พระครูเมตตาจันทคุณ พร้อมด้วยเจ้าคณะตำบลทุกตำบลในเขตอำเภอศรีบุญเรือง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันทุกตำบลในเขตอำเภอศรีบุญเรือง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอศรีบุญเรือง ส.อบจ.หนองบัวลำภู ในเขตอำเภอศรีบุญเรือง ผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลนากอก และชาวบ้านโคกล่าม กว่า 150 คนเข้าร่วมกิจกรรม
โดยก่อนการแถลงข่าว สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู เชิญ อรวรรณ รุ่งเรือง อดีตนางเอกหมอลำชื่อดังหลายคณะ และเป็นเจ้าของรางวัลโล่พระราชทานการประกวดหมอลำชิงถ้วยพระราชทาน การประกวดหมอลำแห่งประเทศไทย และเป็นเจ้าของเสียงรำ ”บุญข้าวสาก” ที่มีเนื้อหาหลังบรรพบุรุษ บรรพชน ที่ล่วงไปแล้ว ถูกปล่อยมาจากนรกภูมิ ขึ้นมาบนโลกมนุษย์เพื่อขอรับส่วนบุญที่ลูกหลานทำบุญอุทิศหา หวังว่าจะนำกลับไปไถ่ถอนบาปให้ลดน้อยลงหรือหมดไป จะได้มีโอกาสได้ไปผุดไปเกิดในภพใหม่ แต่ผิดหวังเมื่อลูกหลานไม่ได้มาทำบุญอุทิศหาซึ่งบรรพบุรุษที่ถูกปล่อยขึ้นมาจะมีลักษณะรูปร่างต่างๆตามกรรมที่เคยกระทำ เมื่อครั้งมีชีวิตเรียกว่า”เปรต”ซึ่งนรกภูมิจะปล่อยขึ้นมายังโลกมนุษย์ นับตั้งแต่วันแรมขึ้น 1 ค่ำเดือน 10 ถึงวันแรมขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 เพื่อขอรับบุญกุศลที่ลูกหลาน ญาติมิตรทำอุทิศไปให้ ทำเอาผู้ร่วมแถลงข่าวฟังรำไปน้ำตาคลอเบ้าจนไหลรินจิตใจเกิดสำนึกคิดถึงผู้มีพระคุณ
ขณะที่ นางศรัณยา สุวรรณพรหม ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่าโครงการสืบสานมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น (ประเพณีบุญข้าวสาก) เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมาแต่บรรพบุรุษที่ถือปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในฮีตสิบสองคองสิบสี่ ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้อนุมัติให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีบุญเรือ บูรณการกับภาคีเครือข่าย จัดให้มีขึ้นภายใต้หลักการที่สำคัญที่สำคัญคือ เพื่อให้บรรพชนได้อนุรักษ์สืบสาน รักษาและต่อยอดให้คงอยู่สืบไป และที่สำคัญอยากให้ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สำนึกในพระคุณของผู้ที่เลี้ยงเรามาจนเติบใหญ่ หรือผู้มีอุปการะต่อเราขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หรือท่านล่วงลับไปแล้ว จะตอบแทนคุณความดีของท่านอย่างไร อยากให้ลูกหลานสำนึกในฐานะที่ท่านเป็นบุพการีที่จะต้องตอบแทนบุญคุณของท่านเพื่อเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณ สภาวัฒนธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จึงบูรณาการร่วมกับอีก 7 ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสืบสานมรดกภูมิปัญญาของท้องถิ่น(บุญข้าวสาก) ให้เป็น 1 งานบุญประเพณี 1 งานบุญปลอดเหล้า
ร่วมกับคณะสงฆ์ของอำเภอศรีบุญเรือง ที่มีประกาศคณะสงฆ์อำเภอศรีบุญเรืองให้พระสงฆ์นำในการจัดงานมงคลและอวมงคลให้ปลอดจากเหล้า และภาคีเครือข่ายงดเหล้า สคล.และ สสส. และ สมัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู (สช.)ร่วมกันขับเคลื่อน รวมถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของอำเภอศรีบุญเรือง “ศรีบุญเรือง เมือง 4 ดี” ได้แก่ สุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี สังคมและสิ่งแวดล้อมดี และ เศรษฐกิจดี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนศรีบุญเรือง ที่หลากหลายกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น ชาวศรีบุญเรืองร่วมใจ หิ้วตระกร้า สวมผ้าไทย จูงมือคนสามวัย ใส่บาตรวันพระ
บุญข้าวสาก เป็นประเพณีบุญสารทเดือนสิบ (เดือนกันยายน) ตามปฏิทินลาว ที่สำคัญต่อลูกหลานชาวไทยอีสานอย่างมาก โดยในปีนี้จะจัดงานตรงกับ วันที่ 29 กันยายน 2566 เป็นงานบุญที่ชาวอีสานจะถวายไทยทานอุทิศบุญกุศลให้แก่บรรพบุรุษและญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูต่อปู่ย่าตายายที่เป็นต้นตระกูลมาจนถึงทุกวันนี้
บุญข้าวสาก เป็นบุญประเพณีที่คนอีสานมักจะกระทำก่อนวันงาน นั้นคือชาวบ้านจะเตรียมอาหารชนิดต่างๆ ห่อด้วยใบตองไว้แต่เช้ามืด ข้าวสากจะห่อด้วยใบตองกล้วยกลัดหัว กลัดท้าย มีรูปคล้ายกลีบข้าวต้มแต่ไม่พับสั้น ต้องเย็บติดกันเป็นคู่ ห่อที่ 1 คือ หมาก พลู และ บุหรี่ ห่อที่ 2 คือ อาหารคาวหวาน อย่างละเล็กอย่างละน้อย ประกอบด้วย . ข้าวเหนียว เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปอย่างละเล็กอย่างละน้อยถือเป็นอาหารคาว 2. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง แตงโม สับปะรด ฟักทอง (แล้วแต่จะเลือกใส่) เป็นอาหารหวาน
พอวันรุ่งขึ้น (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10) ตอนเช้าชาวบ้านจะนำภัตตาหารไปถวายพระภิกษุสามเณรครั้งหนึ่งก่อน พอถึงเวลาประมาณ 9 – 10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม(รวม) ญาติโยมจะนำอาหารที่เตรียมไว้มาถวายพระสงฆ์ ให้พรญาติโยมจะพากันรับพรแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เสร็จจากนี้แล้ว ชาวบ้านยังนำเอาห่อข้าวสากไปวางไว้ตามบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารและผลบุญที่อุทิศให้นอกจากนี้ ชาวบ้านจะนำอาหารไปเลี้ยง ตาแฮก ณ ที่นาของตนด้วย เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก