
นายแพทย์ปฐมพงศ์ ปรุโปร่ง นายแพทย์ สสจ.อำนาจเจริญ กล่าวว่าตนได้รัแบรายงานการพบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ เสียชีวิตที่ อ.ดอนตาล จังหวั ดมุกดาหาร เขตรอยต่อ อ.ชานุมาน ผู้ป่วยมีประวัติชำแหละเนื้อวัว 12 เม.ย. 68 เริ่มป่วยวันที่ 24 เมย 68 รับการรักษาที่รพ.ดอนตาล 27 เมย 68 และเสียชีวิตในวันที่ 30 เมย 68 มีผลตรวจยืนยันการป่วยเป็นแอนแทรกซ์
จากการสอบสวนโรค เนื้อวัวที่ชำแหละมีการแจกจ่ายไปในหลายครัวเรือนในดอนตาล มีผู้สัมผัสรวม 247 คน สัมผัสเสี่ยงสูง 167 คน ในกลุ่มนี้พบผู้มีอาการ1 ราย ซึ่งเป็นผู้ร่วมชำแหละเนื้อวัวในวันที่ 12 เมย ยังอยู่ระหว่างการตรวจยืนยัน
แนวทางการดำเนินการเบื้องต้น
30 เมย 68 สสจ.อจ.ได้มีข้อสั่งการให้รพ.ชานุมานและสสอ.ชานุมาน ที่เป็นเขตรอยต่อได้เฝ้าระวังกรณีมีผู้ป่วยสงสัยแอนแทรกซ์ให้รายงานสสจ.อจ.และดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคทันที และให้ทุกหน่วยบริการในพื้นที่จ.อำนาจเจริญ เฝ้าระวังโรคในพื้นที่รับผิดชอบ
นายแพทย์ปฐมพงษ์ปลูกโปร่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวด้วยว่า ณ.วันที่ 2 พค. 68 เวลา
ยังไม่มีผู้สงสัยป่วยในจังหวัดอำนาจเจริญ





นายสัตวแพทย์อภิชาติ ภะวัง ปศุสัตว์จังหวะดอำนาจเจริญ กล่าวว่า
เนื่องจากตนได้รับข้อสั่งการและการประสานจากผอ.สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์,นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ
แจ้งว่าผู้ป่วยด้วยโรคแอนแทรกซ์ที่โรงพยาบาลมุกดาหารได้เสียชีวิตแล้ว ในส่วนของจังหวัดอำนาจเจริญให้กำหนดมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคแอนแทรกซ์ขึ้น
ปศจ.อจ.ได้ชี้แจงมาตรการของทางปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญที่ได้สั่งการไปแล้ว และเพื่อความชัดเจนขอย้ำให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามข้อสั่งการและข้อสั่งการเพิ่มเติมดังนี้
1 ให้ปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอเฝ้าระวังการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โค กระบือ จากบริเวณใกล้เคียงจุดเกิดโรค (ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ) ตลอดจนตามแนวชายแดนและรอยต่อจังหวัดใกล้เคียง
2.ให้เฝ้าระวังทางอาการในสัตว์พาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโค กระบือ ทุกพื้นที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ
3.หากพบสัตว์ป่วย ตายเข้านิยามของโรคแอนแทรกซ์ให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอเข้าตรวจสอบร่วมกับกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ และรายงานให้ปศุสัตว์จังหวัดทราบถึงผลการตรวจสอบและดำเนินการ โดยเร็ว
4.ให้ปศุสัตว์อำเภอประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านกลุ่มไลน์ แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อาสาสมัครปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้ทราบถึงลักษณะอาการป่วย หรือสัตว์ที่ตายจากโรคแอนแทรกซ์ หากพบสัตว์ป่วยหรือตาย ที่สงสัยว่าเป็นโรคแอนแทรกซ์ ห้ามชำแหละโดยเด็ดขาดให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าตรวจสอบโดยเร็ว
5.ให้กลุ่มพัฒนาคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ แจ้งพนักงานตรวจโรคสัตว์ให้เข้มงวดตรวจสัตว์ที่เข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ ก่อนอนุญาตให้ฆ่าสัตว์ และตรวจเนื้อสัตว์ก่อนออกใบรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์(ร.น.)
6.ทุกกลุ่มฝ่าย ปศุสัตว์อำเภอ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนงดบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก ผู้ชำแหละซากสัตว์ควรสวมถุงมือและชุดป้องกัน(PPE)การติดเชื้อ
7.ให้ปศุสัตว์อำเภอชานุมานประสานชุดทหารพราน ตำรวจและฝ่ายปกครองซึ่งตั้งจุดตรวจจุดสกัดตามถนนสายยุทธศาสตร์เลียบแนวชายแดน (อำนาจเจริญ-มุกดาหาร)เรียกตรวจสอบใบอนุญาตเคลื่อนย้ายฯจากยานพาหนะบรรทุกสัตว์ ซากสัตว์ทุกคัน หากไม่มีใบอนุญาตให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย
8.ระหว่างที่ปศุสัตว์จังหวัดอำนาจเจริญเดินทางไปราชการ ไม่อยู่ หรือไม่สามารถติดต่อได้ หากมีเหตุการณ์เร่งด่วนฉุกเฉินมอบหมายหัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคแอนแทรกซ์และเป็นผู้พิจารณาให้ข้อมูลต่อผู้บังคับบัญชาหรือให้ข่าวเชิงประชาสัมพันธ์แก่สื่อต่างๆ
และตนยืนยันว่า ปัจจุบัน ในพื้นที่อำนาจเจริญยังไม่มีสัตว์ป่วยหรือตายด้วยโรคแอนแทรกซ์ครับ
ทิพกร หวานอ่อน/อำนาจเจริญ รายงาน