
วันที่ 14 พ.ค.68 ที่โรงพยาบาลสุรินทร์ นายแพทย์ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก ของโรงพยาบาลสุรินทร์ กับ โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการ ยกระดับสุขภาพโรคทางหูและการได้ยินของประชาชน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านโรคหู โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจคัดกรองการได้ยินทารกแรกเกิด และการผ่าตัดโรคหูน้าหนวกเรื้อรังแก่ผู้ป่วย ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย พัฒนาความรู้ด้านวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสุรินทร์ และโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9
ทั้งนี้ การสูญเสียการได้ยินถาวรในทารกแรกเกิดส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตระยะยาว พบว่าร้อยละ 60 ของการสูญเสียการได้ยินแบบถาวรในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี สามารถป้องกันได้โดยการตรวจประเมินการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด การวินิจฉัยและรักษาภายในอายุ 6 เดือน จะทาให้เด็กมีพัฒนาการด้านการพูด อารมณ์และสังคมเหมาะสม และปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคทางหูน้าหนวกเรื้อรังและโพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบเรื้อรังในทุกช่วงวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการได้ยิน การทรงตัว การติดเชื้อทางระบบประสาท และการใช้ชีวิตในระยะยาว
โรงพยาบาลสุรินทร์ มีการดาเนินการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดในทุกราย ตั้งแต่ปี 2564 เพื่อตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดให้ได้รับการรักษาฟื้นฟูการได้ยินภายในอายุ 6 เดือน โดยในปี 2567 มีเด็กเกิดใหม่เข้ารับการตรวจคัดกรองการได้ยิน OAE ทุกราย 100% ตรวจไม่ผ่าน 1.85% ลดลงจากปี 2565 (3.92%) และเด็กที่ถูกตรวจพบความผิดปกติการได้ยินระดับก้านสมอง ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการรักษาต่อไป
พญ.สมจินต์ จินดาวิจักษณ์ หัวหน้ากลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี หัวหน้าคณะที่เดินทางมาให้ทำโครงการฯ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดมีความสามารถทางการได้ยินระดับใด สามารถฟื้นฟูการได้ยินได้ แต่ถ้ามีการสูญเสียการได้ยินไปเลย ก็อาจต้องทำการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ก็จะสามารถสื่อสารได้ใกล้เคียงกับคนปกติ เพราะทำให้มีการพัฒนาด้านการเรียนารู้ภาษาได้ใกล้เคียงกับคนปกติตั้งแต่เริ่มต้น ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด