
วันคล้ายวันสถาปานา ฉลองครบรอบ 55 ปี โรงเรียนประสาทวิทยาคารเปิดซุ้มประตู นักเรียนอาจารย์ 3,470 คน พร้อมใจกันรำตั๊กแตนตำข้าว หรือเรือมกระโน๊บติงตอง ขณะที่พิธีพราหมณ์ธูปเลข 399 แขกและอาจารย์พากันนำไปเสี่ยงโชคงวดที่จะถึงนี้




เมื่อเวลา 07.30 น.วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ที่หน้าซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียนประสาทวิทยาคารได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 55 ปี และเปิดซุ้มประตูโรงเรียนปราสาทวิทยาคารโดยมีนายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์, ประธานกรรมการสถานศึกษา, นายศุภชัย ดัชถุยาวัตร ประธานสมาคมผู้ปกครอง และครูโรงเรียนปราสาทวิทยา, และนายอภิสิทธิ์ สมนิยามรัตน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปราสาทวิทยา และผู้อำนวยการโรงเรียนต่าง ๆ พร้อมกับคณะครูอาจารย์ คณะผู้บริหารจากโรงเรียนต่างๆ และคณะครูอาวุโส พ่อ ค้า ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม




โดยมีนายชนะศึก จินดาศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนประสาทวิทยาคาร พูดถึงจัดงานวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 55 ปี และเปิดซุ้มประตูโรงเรียนปราสาทวิทยาคาร และร่วมกันเปิดซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียน โดยในพิธีพราหมณ์นั้น ได้จุดธูปเลข เห็นเป็นเลขชัดเจน 399 ซึ่งคณะครูอาจารย์ต่างบอกว่าเป็นเลขดีมงคล และจะนำไปเสี่ยงโชค จากนั้นขบวนวงโยธวาทิตเดินเข้าสู่โดมเรารัก ป.ว.ค. ทำพิธีสงฆ์ในวันคล้ายวันสถาปนา และเจิมป้ายโรงเรียน พร้อมกับถวายปัจจัยพระ 9 รูป พร้อมกับถวายข้าวสารอาหารแห้งให้กับวัด หลังจากพิธีสงฆ์ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน




โดยพิธีสงฆ์เสร็จสิ้นทางโรงเรียนได้จัดให้นักเรียนมัธยมชั้นมัธยม จำนวน 3,470 คน ร่วมทั้งผู้ร่วมงาน จัดขบวนเรียงยาวจากหน้าโรงเรียนไปถึงโดมเรารัก ป.ว.ค. เพื่อร่วมกันรำตั๊กแตนตำข้าว หรือเรือมกระโน๊บติงตอง โดยรำอย่างสวยงานและเรียงยาวอย่างยิ่งใหญ่อลังการณ์
รำ “กะโน้บติงตอง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ตั๊กแตนตำข้าว” เป็นการละเล่นที่เลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว มีจังหวะลีลาที่สนุกสนานเร้าใจ จึงทำให้การเล่นกะโน้บติงตองเป็นที่นิยมทั่วไปทั้งในแถบอีสานใต้และแถบจังหวัดใกล้เคียง แต่ปัจจุบันจะไม่ค่อยนักแทบจะสูญหายไปแล้ว ประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นายเต็น ตระกาลดี ได้เดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชาและในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกันและผสมพันธุ์กันอยู่เฝ้าดูลีลาของตักแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ




เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่าถ้านำเอาลีลาการเต้นของตักแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็ดี จึงนำแนวคินนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกันตรึมที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ และหมู่บ้านใกล้เคียงนั้น ในแถบตำบลไพล อำเภอปราสาท เมื่อไปเล่นที่ไหนเวลา ต้องการให้เกิดความสนุกสนานนั้น จนการเต้นตั๊กแตนตำข้าวเป็นที่รู้จักและได้รับควานนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา



โดยประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้ กลองโทน 2 ใบ(สก็วล) ปี่ใน 1 เลา(ปี่สลัย) ซอด้วง 1 ตัว ซออู้ 1 ตัว และฉิ่ง 1 ตัว ซึ่งการบรรเลง นิยมใช้วงมโหรีอีสานใต้ หรือวงกันตรึม ส่วนบทร้องที่ใช้ประกอบการแสดงนั้นไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีเนื้อหาอย่างไร จะขึ้นอยู่กับผู้ร้องว่าจะร้องในเนื้อเรื่องใดทั้งนี้เพราะมักจะด้นกลอนสด บางครั้งก็ร้องเข้ากับงานที่แสดง ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเชิงเกี้ยวพาราสีหรือตัดพ้อกันระหว่างชายหญิง การแสดงเรือมกะโน๊บติงตองต้องแสดงร่วมกันเป็นหมู่



โดยจะแบ่งออกเป็นฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สมมุติให้เป็นตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้ หากว่ามีการมีการแสดงเป็นกลุ่มมากคน ก็ยิ่งเพิ่มความสนุกสนานยิ่งขึ้น การแต่งกาย จะแต่งกายเลียนแบบตัวตั๊กแตนคือเป็นชุดสีเขียวสวมทั้งตัว มีลักษณะการตกแต่งเสื้อให้คล้ายตัวตั๊กแตน สวมหน้ากากศีรษะตั๊กแตน มีปีก 1 คู่ ผู้แสดงเป็นตั๊กแตนตัวเมียจะมีกระโปรงด้วย