ข่าวอัพเดทรายวัน

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท. 5) จัดงานสื่อมวลชนสัญจร โครงการพัฒนา Co-working space พื้นที่พิเศษเลย หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่

สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท. 5) จัดงานสื่อมวลชนสัญจร โครงการพัฒนา Co-working space วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2565 เวลา 10.00 – 13.00 น. ที่โรงแรมเลยพาเลซ จังหวัดเลย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 หรือ อพท. 5 ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ภายใต้กิจกรรมสร้างการรับรู้โครงการพัฒนา Co-working space ในพื้นที่พิเศษเลย เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาคีเครือข่ายในการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)

โดยมีนายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการ สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 (อพท.5) ดร.สัญชัย เกียรติทรงชัย ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย นางอัชฌิมา แสงสุวรรณ รองนายกเทศมนตรีเมืองเลย นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย นางสาวกุลปราณี ชาลีวงศ์ ผู้อำนวยการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย เอกชนและสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ได้ร่วมกันแสดงความเห็นถึงรูปแบบที่จะนำมาใช้ในโครงการพัฒนา Co-working space ในเบื้องต้นได้สถานที่ก่อสร้าง และรูปแบบตัวอาคารก่อสร้าง โดยจะใช้สถานที่บริเวณ สวนสาธารณะกุดป่อง ด้านหลังสำนักงานเทศบาลเมืองเลย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

โครงการพัฒนา Co-working Space พื้นที่พิเศษเลย เป็นกิจกรรมนำร่องตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย พ.ศ. 2563 – 2570 ภายใต้โครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ประจำปี 2564 ของ อพท. 5 ในกิจกรรมที่ผ่านมา อพท. 5 ได้ทำการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้ของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยการจัดเวทีประชาคม และรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนเพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนา Co-working space พื้นที่พิเศษเลย อย่างเป็นรูปธรรม โดย คุณยุวดี นิรัตน์ตระกูล อดีตผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มองว่า ถ้าเมืองเลยสามารถทำพื้นที่ของ Co – Working space ให้มีความเป็นอัตลักษณ์ เป็นพื้นที่ที่แตกต่างจาก Co – Working space ของพื้นที่อื่น ๆ ที่สำคัญคือเราจะมอง Co – Working space อย่างไร ให้มี มิติที่แตกต่าง เช่น อาจจะใช้จุดขายที่สมุนไพร มีน้ำสมุนไพรแจกเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่มาใช้บริการ การที่ Co – Working space จะมีหน้าตาอย่างไรอยู่ที่คนในพื้นที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกัน หลายๆ ฝ่ายต้องช่วยกันคิด เลยเป็นจังหวัดแรกที่เป็นรัฐมาลงทุนให้ โดยมากจะเป็นการบริหารจัดการของเอกชน ถ้าเราสามารถมี Co – Working space เกิดขึ้นได้จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มดิจิตอลโนแมด (Digital Nomad) เพื่อให้มาใช้บริการ เพิ่มวันพัก ทำอย่างไร Co – Working space จะตอบโจทย์ สิ่งสำคัญคือ กลุ่มเป้าหมาย เราวางกลุ่มเป้าหมายของ Co – Working space ไว้ที่คนกลุ่มใด เราต้องมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก่อน แล้วจึงดีไซน์ Co – Working space ให้ตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านั้น แบบภาพ Co Working space ที่เห็น คุณยุวดี นิรัตน์ตระกูล มองว่า มีความสวยงามน่าสนใจ มีอัตลักษณ์ เราอยากให้ Co – Working space เป็นอย่างไร อยู่ที่เรา ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกัน ช่วยกันคิด คุยกันหลายๆฝ่ายว่าเราอยากให้ Co – Working space ของเมืองเลยเป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้ “ว้าว” ให้คนบอกต่อ ให้คนอยากมา Co – Working space ที่เมืองเลยในส่วนของภาคเอกชนมองว่า การเข้าถึงพื้นที่ และแนวทางการบริหารจัดการ Co – Working space ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน (ยกตัวอย่าง Co – Working space ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เปิดให้นักศึกษาสามารถเข้าไปใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่สำคัญคือ “ไม่เสียค่าบริการ” ทำให้นักศึกษาและคนทั่วไปใช้เวลาส่วนใหญ่ใน Co – Working space)

ส่วนทางด้าน นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ให้ความเห็นว่า เห็นแบบภาพ Co – Working space แล้วดูสวยดี อยากเข้ามาใช้บริการ และคิดว่าจะเข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนยังให้ความสำคัญต่อการให้บริการและอำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ ที่นอกจากสัญญาณอินเตอร์เน็ต ห้องประชุม โต๊ะเก้าอี้ ซึ่งเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ Co – Working space จำเป็นต้องมีอยู่แล้วควรมองไปถึงการให้บริการด้านอื่นๆ เช่น การให้บริการของร้านเครื่องดื่ม และอาหารว่าง รวมถึงรูปแบบกิจกรรมที่จะจัดในบริเวณ Co – Workings pace ประเด็นสำคัญมองเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ Co – Working space อย่างยั่งยืน จะทำอย่างไรให้ Co – Working space สามารถอยู่ได้อย่างยาวนาน ไม่ใช่พื้นที่ที่สร้างแล้วไม่นานก็ร้างราไป หากไม่มีคนมารับช่วงต่ออาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องการดูแลหรือถูกทิ้งร้างไป ดังนั้นควรมีการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น มีการจัดแสดงนิทรรศการ การทำพื้นที่กิจกรรม การสร้างพื้นที่สาธารณะร่วมกันของคนเมืองเลย เพื่อให้ Co – Working space สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น เราควรจะทำอย่างไรให้เกิด “ความยั่งยืน” ตรงนี้สำคัญมาก ควบคู่กับการ”บริหารจัดการเรื่องขยะ” ในอนาคตภายในงานสื่อมวลชนสัญจร จะมีการพูดความก้าวหน้าของโครงการ ทิศทางการพัฒนา และชมนิทรรศการ Co-working space ในพื้นที่พิเศษเลย รวมทั้งมีตัวแทนจากภาคส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมในงานครั้งนี้ ภายใต้มาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19)