ข่าวอัพเดทรายวัน

สุรินทร์ ปปท.เขต3 นำร่อง ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาสังคมเฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect”

สุรินทร์ศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต ปปท.เขต3 นำร่อง ประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาสังคมในการป้องกันและเฝ้าระวังตามโครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565


วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องรัตนสยาม โรงแรมทองธารินทร์ ศาสตราจารย์ บุญสม พิมพ์หนู กรรมการ สปท. ป.ป.ท. พร้อมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต ปปท.เขต3 ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาสังคมในการป้องกันและเฝ้าระวังตามโครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect”ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีพันตำรวจโท ทนง เพิ่มพูล ผอ. ปปท. เขต 3 ร่วมประชุม พร้อมกับบรรยายมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชาสังคมใยการรณรงค์และต่อต่านการทุจริต, การบริหารจัดการและขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานเครือข่ายภาคประชาสังคมในการต่อต้านการทุจริต, และการมีส่วนร่วมของภาคแระชาสังคมในการเฝ้าระวังการทุจริตเชิงรุกในพื้นที่และการใช้งานระบบเครือข่าย PACC Connect พร้อมดันนี้ยังได้ให้เครือข่ายภาคประสังคมได้แบ่งกลุ่มกันปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมพื้นที่สีขาวต่นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริต


การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายภาคประชาสังคมในการป้องกันและเฝ้าระวังตามโครงการเครือข่าย ป.ป.ท. เฝ้าระวังการทุจริต “PACC Connect” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในครั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมต้นแบบในการป้องกัน เฝ้าระวัง และต่อต้านการทุจริตภาครัฐแบบมีส่วนร่วมเ, เพื่อพัฒนากลไกลในการทำงาน โดยบูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ภาคประชาสังคมกับสำนักงาน ป.ป.ท. ในการป้องกัน และเฝ้าระวังการทุจริตในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ, ปลูกจิตสำนึก เสริมสร้างทัศนคติ และค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริตให้เกิดขึ้นในสังคม


พร้อมกันนี้ยังได้สร้างเครือข่ายประชาสังคมที่จะมามีส่วนร่วมในการป้องกัน สอดส่อง เฝ้าระวังการทุจริตในพื้นที่และติดตามดูแลผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ของชุมชนที่ประชาชนจะพึงได้รับ รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้การทุจริต โดยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างเครือข่ายภาคประชาสังคมต้นแบบในการป้องกันและเฝ้าระวังการทุจริตร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตและมหาสารคามเป็นจังหวัดนำรองในการสร้างเครือข่ายโดยมีกลุ่มเป้าหมายภาคประชาสังคม จำนวน 121 คน อีกด้วย