ข่าวอัพเดทรายวัน

เกษตรจังหวัดนครพนม แจ้งเกษตรกรขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ประจำปี 2565

วันที่ 25 พ.ค.65 นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในปี 2565 สำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 12 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดนครพนม พร้อมให้บริการกับเกษตรกรในการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ประจำปี 2565 เพราเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครพนมแล้ว สำหรับทะเบียนเกษตรกรจะต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบันในทุกๆปี หรือในทุกครั้งที่มีการเพาะปลูกพืช เพราะมีความสำคัญอย่างมากในการนำข้อมูลด้านการเกษตรเพื่อมาใช้ในการพัฒนาประเทศของภาครัฐ และยังเป็นฐานข้อมูลประกอบการขอตรวจรับรองสิทธิ์ของเกษตรกรกรณีที่ภาครัฐมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งจะทำให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากเป็นเกษตรกรรายเก่าให้แจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรภายหลังจากการเพาะปลูกแล้ว 15 วัน แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายใหม่ไม่เคยขึ้นทะเบียนมาก่อน ให้ไปแจ้งขึ้นทะเบียน ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก เพื่อกรอกคำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อบันทึกข้อมูลเข้าระบบ หลักจากที่เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลรับแจ้งขึ้นทะเบียนแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วจะแจ้งให้เกษตรกรนำสมุดทะเบียนเกษตรกรมาปรับปรุงข้อมูลลงบนสมุดจัดเก็บไว้เพื่อแสดงตัวตน จึงขอให้เกษตรกรเตรียมความพร้อม และจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเพื่อความถูกต้อง รวดเร็วในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร สำหรับหลักฐานที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ดังนี้ เกษตรกรเดิม แปลงเดิม ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง เกษตรกรรายใหม่ หรือรายเดิม เพิ่มแปลงใหม่ ใช้บัตรประจำตัวประชาชนตัวประชาชนตัวจริง พร้อมหลักฐานแสดงสิทธิการถือครองที่ดินตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองสำเนาจากผู้ครอบครอง สัญญาเช่าหรือหนังสือ รับรองการใช้ประโยชน์ทั้งนี้สามารถเรียกหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม อื่นๆ (ถ้ามี)

สำหรับในปี 2565 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก ปี 2564 ที่ผ่านมา โดยอ้างอิงจากระเบียบคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียน เกษตรกร พ.ศ. 2560 ข้อ 6 ให้นายทะเบียนกําหนดการขึ้นทะเบียนเกษตรกรเป็นรายสินค้า หรือรายครัวเรือน ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้เป็นไปตามที่หน่วยงาน รับขึ้นทะเบียนกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการขึ้นทะเบียน ดังนี้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ครัวเรือนเกษตรที่ขึ้นทะเบียนจะต้องประกอบการเกษตรเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพรองก็ได้ ครัวเรือนเกษตร 1 ครัวเรือน จะมีผู้แทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คน ซึ่งจะถือว่าเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตร โดยไม่จําเป็นต้องเป็นหัวหน้าครัวเรือนตามทะเบียนบ้าน และหากเป็นหัวหน้าครัวเรือนเกษตรแล้ว จะไม่ สามารถเป็นสมาชิกของครัวเรือนเกษตรอื่นได้อีก กําหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้เพียง 1 ครัวเรือนเกษตรเท่านั้น (ตั้งแต่ตุลาคม 2556 เป็นต้นมา) กําหนดให้สามี ภรรยา สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้เพียง 1 ครัวเรือนเกษตรเท่านั้น กรณีที่สามีภรรยา อยู่กินทางพฤตินัย ทั้งที่จดทะเบียนสมรสและมิได้จดทะเบียนสมรส แต่สังคมรับรองโดยเปิดเผยว่าอยู่ร่วมชายคาบ้านเดียวกันฉันท์สามีภรรยา แม้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนละหลังให้ถือว่า เป็นครอบครัวเดียวกัน กรณีทสามีภรรยา หย่าขาดจากกัน แต่สังคมรบรู้โดยเปิดเผยว่ายงมีพฤติกรรมกินอยู่ร่วม ชายคาบ้านเดียวกัน ฉันท์สามีภรรยา แม้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านคนละหลังให้ถือว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน

การขึ้นทะเบียนเกษตรกร รับขึ้นทะเบียนทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบการเกษตร หรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในผลผลิต โดยมีผู้แทนมาขอ ขนทะเบียนในนามครัวเรือนได้เพียง 1 คน นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตร โดยมอบหมายบุคคลที่ได้รับมอบอํานาจ จากผู้มีอํานาจของนิติบุคคลให้เป็นผู้ขอขึ้นทะเบียนในนามนิติบุคคล ซึ่งบุคคลนี้อาจมีครัวเรือนเกษตร ที่เป็นบุคคลธรรมดาของตนเองด้วยก็ได้ ทั้งนี้ วัด มัสยิด โรงเรียน ไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่อนุโลมให้ใช้พื้นที่ของวัด มัสยิด โรงเรียน มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรในนามบุคคลธรรมดาได้

การขึ้นทะเบียนเกษตรกรสําหรับพืชหรือแมลงเศรษฐกิจที่มีเงื่อนไขพิเศษ มีรายละเอียดดังนี้ กัญชง
ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ได้รับใบอนุญาตผลิต (ปลูก) จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ ณ วันที่มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร บนเนื้อที่ตั้งแต่ 30 ตารางเมตร(7.5 ตารางวา) ขึ้นไป มีจำนวนต้นไม่น้อยกว่า 6 ต้น หรือ ปลูกกลางแจ้ง เป็นพืชไร่ (เส้นใย) บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป หรือ ปลูกในโรงเรือนถาวร เป็นสมุนไพร ขนาดตั้งแต่ 30 ตารางเมตรขึ้นไป

กัญชา ต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียน ตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือสหกรณ์ การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งดําเนินการภายใต้ความร่วมมือและกํากับดูแลของ ผู้ขออนุญาต ดังนี้


หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือ วิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือ หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแกไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย และจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (อ้างอิงตามมาตรา 26/5 (4) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562) ได้รับอนุญาตผลิต (ปลูก) ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (กัญชา) จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ ณ วันที่มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรณีเป็น องค์กรหรือนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร บนเนื้อที่ตั้งแต่ 30 ตารางเมตร (7.5 ตารางวา) ขึ้นไป มีจำนวนต้นไม่น้อยกว่า 6 ต้นปลูกในโรงเรือนถาวร เป็นสมุนไพร นาดตั้งแต่ 30 ตารางเมตรขึ้นไป

กระท่อม ต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล จะต้องมีการมอบหมาย ตัวแทนมาขึ้นทะเบียน ปลูกกลางแจ้ง เป็นสมุนไพร บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป มีจำนวนต้นไม่น้อยกว่า 20 ต้น
6.4 ด้วงสาคู ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเห็นชอบจากชุมชน ให้ดําเนินการเลี้ยงด้วงสาคูได้

ผู้ขอขึ้นทะเบียนจะต้องบรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย และมีสัญชาติไทย โดยเลขบัตรประจําตัวประชาชน ต้องไม่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 6 7 และ 8 (หากเป็นเลข 8 เจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลจากระบบทะเบียน เกษตรกร ซึ่งได้เชื่อมโยงข้อมูลจากทะเบียนราษฎร ถาเป็นสัญชาติไทยจึงสามารถรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้) ผู้พิการ ทุพพลภาพ แต่ยังมีความสามารถในการประกอบการเกษตรด้วยตนเอง หรือเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ ในผลผลิต สามารถรับขึ้นทะเบียนได้ พระ เณร นักบวชในศาสนาอื่นๆ ที่มีข้อห้าม หรือไม่เหมาะสมในการประกอบอาชีพการเกษตร ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ บุคคลที่ถูกคุมขังในเรือนจํา ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ทั้งในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ ดังนี้ พื้นที่มีเอกสารสิทธิ์ เอกสารสิทธิตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินที่มีหนังสืออนุญาตการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ที่ดินที่มีหนังสือรับรองผู้ทําประโยชน์ในเขตที่ดินของรัฐ พื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ อนุโลมให้เกษตรกรสามารถขึ้นทะเบียนได้ เพื่อให้ทราบสถานการณ์การเพาะปลูกของเกษตรกร และประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่จะต้องมีผู้นําชุมชนเป็นผู้รับรองการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนต้องไม่อ้างกรรมสิทธิ์ หรือถือครองพื้นที่นั้น ทั้งนี้ ให้รวมถึงพื้นที่ในเขตป่าไม้ ป่าอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และให้ หมายรวมถึงเอกสารบางประเภทตามภาคผนวก 4 โดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีหน้าที่รับจดแจ้ง ข้อมูลจากเกษตรกรเท่านั้น มิได้รับรองการครอบครองพื้นที่การเกษตรใดๆ ทั้งสิ้น หากมีการประมวลผลจัดส่งข้อมูลเพื่อเข้าร่วมโครงการ มาตรการต่างๆ พื้นที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์และประเภท เอกสารที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ มาตรการ หรือไม่ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการ มาตรการนั้นๆ


เกษตรจังหวัดนครพนม จึงขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรผู้ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ประจำปี 2565 ให้รีบดำเนินการ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถสอบถามรายละเอียดหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านและสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม