วันเดียวทุเรียนพันธุ์ดีหลายร้อยลูกถูกจับจอง สร้างความเชื่อมั่นให้หนองบัวลำภู ต้องมีทุเรียนสร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน

นายธนายุทธ ใยแก้ว นายอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู แจ้งว่าอำเภอนาวังได้กำหนด จัดงาน” ของดีนาวัง”เพื่อเพิ่ม ผลผลิตคุณภาพ ทุเรียนภูไผ่ ไร่เคนคำ ของนายสมบัติ เคนคำ และ นายชัยวัฒน์ เคนคำ สองพี่น้องตระกูลเคนคำ เจ้าของสวนทุเรียนหมอนทอง บ.โคกสง่า ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู โดยมี ชัยวัฒน์-สมบัติ เคนคำ 2 พี่น้องได้เริ่มปลูกทุเรียนในปีแรกที่ไว้ผลเยอะ ร่วม 340 ต้น มีทุเรียนหมอนทอง อายุ 6 ปีโดยในปีนี้จะเริ่มตัดกลางเดือน มิ.ย.65 ประมาณ 400 ลูก และจะทยอยตัดเรื่อยๆ อีกหลายร้อยลูก โดยจะเปิดจองช่วง มิ.ย.65 นี้ ในขณะที่ทุเรียนหลายร้อยลูกถูกจับจองไว้แล้ว และพร้อมที่จะตัดขายในวันที่ 16 มิย.ศกนี้
ในการจัดงานกินของดีนาวัง มหัศจรรย์พืชผักผลไม้ วันที่ 16 มิ.ย.65 มีกิจกรรม โชว์ ชิม ชอป ผลผลิตปลอดภัยทุกตำบลของอำเภอนาวัง และเปิดจองและซื้อ ทุเรียน ณ สวนทุเรียนภูไผ่ ไร่เคนคำ บ.โคกสง่า ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู ในพื้นที่อำเภอนาวัง มี เกษตรรุ่นใหม่ หรือ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Young Smart Farmer) อีกแห่งหนึ่งมีแปลงทุเรียน 2 พี่น้องตระกูล”เคนคำ”เกษตรกรบ้านโคกสง่า ต.วังทอง อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู โดยทั้ง 2 พี่น้องได้ทำการปลูกทุเรียนในพื้นที่ 15 ไร่ใกล้เชิงเขาภูไผ่ เขตรอยต่อระหว่าง อ.เอราวัณ จ.เลย กับ อ.นาวัง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งทั้ง 2 พี่น้องได้ทำการปลูกทุเรียนมาปีนี้ย่างเข้าปีที่ 6 ในขณะที่ผลผลิตให้ผลพร้อมจำหน่าย
นายอำเภอนาวัง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าภายหลังทราบว่าเกษตรกรชาวอำเภอนาวัง โดยเฉพาะ 2 พี่น้องตระกูล”เคนคำ”ได้ใช้ความพยายามในการปลูกและดูแลรักษาต้นทุเรียน ร่วม 400 ต้น ชื่นชมในความพยายามทั้ง 2 ครอบครัว ทั้งๆที่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน แต่อาศัยความขยัน หมั่นเพียรและศึกษาหาความรู้ ตลอดจนเอาใจใส่ในการดูแลรักษาเป็นอย่างดี และทราบว่าปัญหาและอุปสรรคในการปลูกทุเรียนคืออะไร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ในส่วนของเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ได้มอบหมายให้เกษตรอำเภอนาวัง เจ้าหน้าที่เกษตรประจำตำบล ได้ลงพื้นที่ให้คำแนะนำและให้กำลังใจติดตามการเจริญเติบโตของทุเรียนในแปลงเกษตรดังกล่าว และคาดหวังว่าหากปีนี้มีดอก ผล เป็นเช่นนี้ ที่นี่จะเป็นแปลงสาธิตและเชื่อมั่นว่าจะสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนนี้อย่างแน่นอน
นายสมบัติ เคนคำ น้องชายของนายชัยวัฒน์ เคนคำ เล่าว่าโดยที่พ่อแม่เป็นเกษตรกร และก็นับวันท่านมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากจบการศึกษาทั้ง 2 คนก็ไปประกอบอาชีพและหางานทำต่างจังหวัด และต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายการใช้ชีวิตในชุมชนเมือง จึงตัดสินใจลาออกจากงานกลับมาบ้านเพื่อช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษ โดยในระยะแรกก็เริ่มทดลองปลูกพืชระยะสั้น หลากหลายชนิด และในขณะเดียวกันก็ศึกษาหาความรู้จากสื่อโซเซียส จนทั้งคู่มีครอบครัวและมีภรรยาเป็นชาวจังหวัดศรีษะเกษ และ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพื้นเพของคนที่นั้นมีการปลูกทุเรียนจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก จึงได้ตัดสินใจปลูกทุเรียน ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา โดยพยามดูแลรักษาต้นทุเรียนเรื่อยมา จนมาถึงปีนี้ทุเรียนเริ่มให้ดอกออกผล ถือได้ว่าเป็นความประทับใจและเกิดความเชื่อมั่นว่าจะให้ผลผลิตในปีต่อไปแน่นอน






ด้านนาย สมบัติ เคนคำ กล่าวว่า เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาตัดสินใจปลูกทุเรียนพันธ์หมอนทอง พร้อมกับพี่ชาย กว่า 400 ต้น หลังทั้งคู่ต้องลาออกจากงานที่กรุงเทพ กลับบ้านเกิดมาทำการเกษตร เพื่อดูแลบิดามารดาที่เริ่มมีอายุมากขึ้นและสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม เริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียนจากหลายพื้นที่ในภาคอีสานที่สามารถปลูกทุเรียนได้ โดยการไปศึกษายังสถานที่จริง และสอบถามข้อมูลในการปลูกดูแลรักษา จึงได้ตัดสินใจซื้อต้นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองมาปลูก เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 จากจังหวัดจันทบุรี จำนวน 415 ต้น ราคาต้นละ 60 บาท เริ่มปลูกครั้งแรก ในปีแรก เมื่อเดือนกันยายน 2559 จำนวน 115 ต้น ในพื้นที่ 5 ไร่ พี่ชายปลุก 300 ต้น ในพื้นที่ 10 ไร่ 6 ปีผ่านมา
จากนั้น 2 พี่น้องตระกูล “เคนคำ” ก็ได้ใช้ความพยายามทดลองปลูกทุเรียนมา ทำให้นายสมบัติ เคนคำ มีต้นทุเรียนที่โตสมบูรณ์ให้ผลผลิต จำนวน 70 ต้น รอบแรกสามารถตัดขายได้ 400 ลูกๆ ละประมาณ 3 กิโกกรัม ขายกิโลกรัมละ 180 บาท จะทำให้มีรายได้จากการขายทุเรียนรอบแรก กว่า 200,000 บาท และยังมีทุเรียนไว้ขายในรอบที่ 2 อีก จำนวนหลายร้อยลูก ส่วนสวนของพี่ชาย จำนวน 10 ไร่ มีต้นทุเรียนที่ให้ผลผลิต จำนวนกว่า 300 ต้น ซึ่งจะสามารถทำให้ 2 พี่น้องตระกูลเคนคำ มีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียนหลายแสนบาท
ทีมข่าวเสียงภูพานประจำจังหวัดหนองบัวลำภู