ข่าวอัพเดทรายวัน

มหาสารคาม-สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ เดินหน้าแปรรูป Nougat (นูกัต)

นางสุพรรษา ดวงเพียราช นักวิชาการสหกรณ์ชำนาญการสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด เป็นหนึ่งสหกรณ์ ในจังหวัดมหาสารคาม ที่เข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรแปรรูปตลาดนำการผลิตมุ่งผลิตสินค้าเกษตรในเชิงการสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรมาใช้ในการแปรรูปผลผลิตการเกษตร สร้างความหลากหลายของสินค้ารวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด นำสินค้าน้ำนมดิบมาแปรรูป เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำนมโคล้นตลาด เพิ่มมูลค่าสินค้า โดยใช้พื้นฐานของความนิยมในปัจจุบันซึ่งลูกค้าทั่วไปบริโภคนมโค ด้วยการดื่มนมสด นมพาสเจอไรส์ นมยูเอชที และการทานขนมควบคู่กับการดื่มนม ดื่มกาแฟ ร้อน เย็น การนั่งชิวร้านกาแฟคาเฟ่ เทรนแฟชั่น ซีรีย์เกาหลี ไต้หวัน เป็นที่ชื่นชอบของวัยรุ่น และวัยทำงาน Nougat (นูกัต) ตังเมไต้หวัน สูตรต้นฉบับมาจากประเทศไต้หวัน สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม โคกก่อ จำกัด ได้แปรรูปน้ำนมโค เนย ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์เป็นส่วนผสมหลักของ ขนมนูกัตนมสดผลไม้รวม รสชาติหวานหอม เคี้ยวหนึบหนับ หวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยจากผลไม้ในฤดูกาลที่เป็นผลผลิตจากสมาชิกหรือผลไม้ที่ได้รับความนิยม และทำเป็นสูตรเฉพาะของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัดออกจำหน่าย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม

สหกรณ์จะมีความเข้มแข็งในด้านการดำเนินธุรกิจ ต้องพัฒนาให้เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในรูปแบบสหกรณ์ ควบคู่กับการพัฒนาสหกรณ์ให้มีขีดความสามารถในการดำเนินกิจกรรมเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่อุปทานอย่างครบวงจร และเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ในระดับชุมชน ทำให้สหกรณ์มีศักยภาพสามารถเข้าสู่ระบบการผลิตเกษตรแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และนำแนวทางการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals–SDGs) ทั้งทางด้าน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

สอดคล้องกับแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2563 – 2565 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น ทางสังคมเศรษฐกิจสีเขียว รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ฟาร์มโคนม มีบริเวณทุ่งหญ้า ต้นไม้ให้ร่มเงากับโคนมมากขึ้น) ส่งเสริมการบริโภคที่มีคุณภาพการผลิตที่ยั่งยื่นด้านน้ำนมโค และทางสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สหกรณ์ต้องพัฒนาและสร้างระบบรับมือปรับตัว พร้อมยกระดับความสามารถในการป้องกันโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดขี้นจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (โรคลัมปีสกิน, โรคปากและเท้าเปื่อย และโรคในโคนมอื่นๆ) และพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมเสริมสร้างระบบสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อม

สำหรับการแก้ไขปัญหาน้ำนมโคล้นตลาด นอกจากนำแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าโดยการ แปรรูป อีกหนึ่งปัจจัยที่สหกรณ์โคนมต้องดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำนมโคล้นตลาด คือ การหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่ม (Channel of Distribution) โดยสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ จำกัด ได้ส่งเสริมการบริโภคที่มีคุณภาพและการผลิตที่ยั่งยื่นด้านน้ำนมโค พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป ได้ดื่มนมโคแท้ สดใหม่ นมพาสเจอไรส์ นมยูเอชที จากแหล่งของดีในจังหวัดมหาสารคามที่มีระบบสาธารณสุขและมีอนามัยต่อสิ่งแวดล้อม สหกรณ์บริการส่งถึงมือผู้บริโภค และให้ผู้บริโภคมีทัศนคดีที่ดีต่อน้ำนมโคในจังหวัด เกิดความเชื่อถือ การนึกถึง และเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่อง เป็นการสร้างความภักดี (Brand Loyalty) ให้ประชาชนในจังหวัด ดังคำกล่าวที่ว่า “คนสารคามดื่มนมโคสารคาม”