ข่าวอัพเดทรายวัน

นครพนมทีม ลุ้นรางวัลหน่วยงานต้นแบบขับเคลื่อนภารกิจสำคัญฯ CDD Policy Award 2022

วันที่ 10 สิงหาคม 2565 นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานนคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผลงานที่โดดเด่นของหน่วยงานต้นแบบการขับเคลื่อนภารกิจสําคัญ ตามนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (CDD Policy Award 2022) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting จากกรมการพัฒนาชุมชน โดยมี นายกิจจา ทองแดง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายนพรัตน์ ธำรงทรัพย์ ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ นางสาวนิภา ทองก้อน ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน นางทัศนีย์ ชัยคุณแสง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน นางสาวนวภัทร หอมหวล ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานแผนและยุทธศาสตร์ ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ร่วมเป็นคณะกรรมการ

นางสาวพันสี คุณธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย นางวรนุช กรุงเกตุ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และนายหาญ ศรีหาวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน ร่วมนำเสนอผลงานหน่วยงานต้นแบบการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปี พ.ศ. 2565 “นครพนมทีม บูรณาการ งานสัมฤทธิ์ผล คนมีความสุข” ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ศาลากลางจังหวัดนครพนม ชั้น 5
โดยนำเสนอภารกิจสำคัญ 8 ภารกิจ หรือ SPECIAL ROUTINE งานที่ต้องทำ และให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และทำงานในรูปแบบ “หุ้นส่วนการพัฒนา” ให้ความสำคัญให้เกียรติกับคนทำงาน/หน่วยงานภาคี มุ่งเชื่อมโยง ประสานงาน สอดคล้องกัน “ทุกคน ทุกหน่วยงาน มีที่ยืนอย่างสง่างาม” ภายใต้กลไกสานพลังประชารัฐ “ประชาชน/ชุมชนลงมือทํา เอกชนขับเคลื่อน ภาครัฐ/ภาควิชาการสนับสนุน” เชื่อมโยงนโยบายจังหวัดนครพนม ให้งานพัฒนาชุมชนเป็นงานของจังหวัด ให้งานพัฒนาการจังหวัดสนับสนุนงานของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ นำเสนอผลงานที่โดดเด่น 3 ภารกิจสําคัญ ผลงานที่ 1 : 5 C Model ตัดวงจรความยากจนอย่างยั่งยืน ภายใต้ภารกิจสําคัญ : การขับเคลื่อนการดําเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลงานที่ 2 : “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” สู่ “นาหว้าโมเดล” ภายใต้ภารกิจสําคัญ : การบริหารงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ผลงานที่ 3 : ทุกที่คือโอกาส ตลาดรอบด้าน สื่อสารรอบโลก ภายใต้ภารกิจสําคัญ : การบริหารการส่งเสริมช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) และนำเสนอภารกิจหนุนเสริม และเกื้อกูลให้งานบรรลุ ผ่านกลไกประชารัฐ สรุปเป็นภาพรวม ต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนครพนม โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ KBO ที่จังหวัดนครพนม ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ลําดับที่ 2 ประเภทอาหาร (กาละแมโบราณ) เมื่อปี 2564 เน้นการใช้ประโยชน์จากใบตองกล้วย “เปลี่ยนใบตอง ให้เป็นใบเงิน” ที่เป็นวัตถุดิบต้นทางของผู้ประกอบการกาละแม ผู้ประกอบการทำแหนมและหมูยอ และเตรียมขยายผลใน “โคก หนอง นา โมเดล” ร่วมกับภาคเอกชน โดยร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายสมุนไพรแบรนด์ One Herb และกลุ่มแปรรูปกล้วย แบรนด์ Nakhon Banana วางแผนการผลิตพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ฟ้าทะลายโจร และกล้วยน้ำว้า ในปริมาณที่มาก จากกลุ่มครัวเรือน“โคก หนอง นา โมเดล” สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการโรงแรม 3 แห่ง และร้านอาหารในจังหวัดนครพนม ดำเนินกิจกรรม “ครัวชุมชน สู่ ครัวโรงแรม” และเชฟชุมชน โรงแรมเลือกใช้วัตถุดิบของชุมชน เช่น ปลาส้ม หมูฝอย ผักบางชนิด น้ำสัปปะรด เป็นวัตถุดิบและเมนูโรงแรมเด็ด และมีแผนขยายผลใช้ผลผลิตจากโคก หนอง นา โมเดล

อีกหนึ่งผลผลิตที่สร้างความภาคภูมิใจให้กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP คือ “จากท้องนา สู่ สากล จากชุมชนสู่ APEC ผลิตภัณฑ์” กระเป๋ากกลายพระราชทาน ถูกเลือกให้เป็นของฝากของที่ระลึกผู้นำจากชาติต่าง ๆ ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิกหรือ APEC นอกจากนี้ ยังมีแผนต่อยอดงานวิจัย องค์ความรู้และนวัตกรรมร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนครพนม จํานวน 4 ผลงานวิจัย ต่อยอดกลุ่มเป้าหมาย “โคก หนอง นา โมเดล” เช่น การลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ด้วยการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย การทอเสื่อกกด้วยเครื่องทอเสื่อกก ด้วยมือแบบต่อเนื่อง เป็นต้น ทั้งหมดเป็นกระบวนการทํางานใน 8 ภารกิจสําคัญ หรือ SPECIAL ROUTINE ที่ต้องทําให้ดีกว่าปกติ เสริมสร้างกลไกให้ดีขึ้นกว่าเดิม หรือ EXTRA JOB

นางสาววิมล มุ่งกลาง ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน นายธวัช ภักดี พัฒนาการอำเภอปลาปาก นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอผู้รับผิดชอบ เข้าร่วมสนับสนุนการประกวดคัดเลือกด้วย