ข่าวอัพเดทรายวัน

อนุทิน เปิดโครงการ “อสม.หมอคนที่ ที่พึ่งชุมชน คนรักษ์สุขภาพ” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นครพนม

วันที่ 14 กันยายน 2565 ห้องประชุมศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม นายอนุทิน ซาญรีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษ “นโยบายการดำเนินงาน อสม. หมอคนที่ 1 ที่พึ่งชุมชน คนรักษ์สุขภาพ” ในการประชุมวิชาการ การเสริมสร้างศักยภาพ อสม. หมอคนที่ 1 ที่พึ่งชุมชน คนรักษ์สุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตสุขภาพที่ 7 ผู้ร่วมงานประกอบด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 /ส.ส.นครพนม นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์วิชาการ หัวหน้ากลุ่มงาน เจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานการสาธารณสุขมูลฐานและระบบบริการปฐมภูมิ ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชน คณะกรรมการชมรม อสม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประธานชมรม อสม. ระดับจังหวัด อำเภอ แกนนำองค์กร อสม. สร้างสุขภาพ อสม. ดีเด่น ระดับชาติ ภาค เขต จังหวัด วิทยากร และแขกผู้มีเกียรติ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และ 8 จำนวน 1,000 คน

การประชุมวิชาการดังกล่าว เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการเสริมศักยภาพการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) : หมอคนที่ ที่พึ่งชุมชน คนรักษ์สุขภาพ ดำเนินการโดยศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนความเข้มแข็งองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .)ให้มีศักยภาพ เป็นกลไกสนับสนุนการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เป็นแกนนำด้านสุขภาพ เป็นต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน และรวบรวมนวัตกรรม องค์ความรู้การสร้างสุขภาพชุมชน

กระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองและชุมชน มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีเครือข่าย ในการดำเนินงานที่สำคัญคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม .) ซึ่งเป็นกลไกที่ประเทศไทยได้พัฒนาศักยภาพของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ต่อเนื่องมากว่า 4 ปี ปัจจุบันมี อสม.จำนวนกว่า 1,050,000 คน ที่กระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน ชุมชน ต่อมาได้ยกระดับ อสม. ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้านหมู่บ้านละ 1 คน ดูแลสุขภาพประชาชนแบบใกล้บ้าน โดยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) อย่างน้อย ๗ คน ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ อสม. หมอประจำบ้าน ยังเป็นแกนนำให้ สม. ทุกคนในหมู่บ้านปฏิบัติงานเป็นหมอคนที่ โดย อสม. 1 คน ดูแลประชาชน 10 – 15 ครัวเรือน เชื่อมต่อการทำงานกับหมอคนที่ 2 (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) และ หมอคนที่ 3 (หมอเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลผู้ป่ายกลุ่มเป้าหมายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง กลุ่มผู้ป่วยไตเรื้อรัง เป็นต้น

นายอนุทิน ชาญวีระกุล รมว.กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงของปลายรัฐบาล ก็พยายามที่ให้มีนโยบายเอาไว้ก่อน จะได้ทำงาน ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องของพรรคการเมือง เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุข อสม.ทุ่มเทเสียสละ ทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ การที่ประเทศไทยมีระบบการสาธารณสุขที่ดี ทำให้มีคนกล้ามาเที่ยว มาลงทุน ใช้ชีวิต ใช้จ่ายในประเทศของเรา รวมถึงสุขภาพของคนไทยมีความเข้มแข็ง โดยใช้ อสม. สามารถที่จะเฝ้าระวังป้องกัน การระบาดของโรคระบาด เป็นสิ่งที่ควรจะต้องทดแทนให้ อสม. เพราะมีความเสี่ยง ได้ทำงานไม่ต้องมีความกังวลใด ๆ มีรายได้เสริมขึ้นมา ตอบแทนคุณงามความดี สิ่งที่นำเสนอคือ เพิ่มค่าตอบแทนเป็น 2,000 บาท ต่อเดือน เพราะได้รับความร่วมมือที่ดีจาก อสม. ไม่ใช่เป็นเงินเพิ่มเป็นเงินที่เราสามารถจะลดลงไปได้จากการที่ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของยารักษาโรค ให้ อสม.เป็นหมอคนที่ 1 คือ การลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาล อสม.ดูแลการเจ็บป่วยพื้นฐาน แบบขั้นต้น ดูแลชาวบ้านได้ เอาเงินเหล่านี้มาตอบแทน อสม. ไม่ได้ใช้งบประมาณ เพิ่มเติม ทำให้ความแออัดในโรงพยาบาล ลดน้อยลง สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดไม่ใช่ฉีดแค่ 2 เข็มแรก ฉีดเข็มบูสเตอร์เรียบร้อย ความพร้อมของการรักษา ยารักษาโรค มีความพร้อม สถานพยาบาล ถ้า อสม.ดูแลชาวบ้านขั้นพื้นฐานได้ ทำให้ความพร้อมของสถานพยาบาล แพทย์มีการวิเคราะห์วินิจฉัยโรค ผ่าน อสม. วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ 100% แต่ป้องกันความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น ให้ลดน้อยลง ทาง สวทช.ได้จัดสรรงบประมาณเป็นระยะยาว เพื่อให้ดูแลสุขภาพประชาชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การประชุมทางวิชาการ อสม.เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่จะต้องสัมผัสโดยตรงกับชาวบ้าน เพื่อสื่อสารให้ชาวบ้านเอาใจใส่ และให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี รมว.สาธารณสุขคนนี้ ไปทุกที่ที่มี อสม. อสม.เป็นแขนขาให้กระทรวงสาธารณสุข ผ่านทุก ๆ วิกฤตการณ์มาได้ ร่วมกับแพทย์ พยาบาล ตนก็เป็น อสม. ช่วงที่มาเป็น รมว.กระทรวงสาธารณสุข โควิด คุกคามมา 2 ปีครึ่ง โรคอื่น 3-4 เดือน สิ่งที่ทำให้เราฟันฝ่าสถานการณ์มาได้ ก็คือความร่วมมือของ อสม. ดูแลเอาใจใส่ อสม. มีการประชุมสัมมนา ต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้กับ อสม.ทั่วประเทศ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้กำลังใจบุคลากรทางด้านสาธารณสุข