ข่าวอัพเดทรายวัน

ขอนแก่น ขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชน ร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงปู่นงค์ ปคุโณ)

ขอนแก่น ขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชน ร่วมงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงปู่นงค์ ปคุโณ) วันเสาร์ที่18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. ณ.เมรุชั่วคราว วัดอุดมคงคาคีรีเขต หรือวัดดูน แหล่งสะสมบารมีหลวงปู่ผาง จิตตฺคุตโต (ธ) ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

พระครูหลวงปู่นงค์ ปคุโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดอุดมคงคาคีรีเขต เป็นศิษย์เอกที่ใกล้ชิด พระหลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต สมัยนั้นมีศิษย์พี่ศิษย์น้อง พระหลวงปู่จื่อ พันธมุตฺโต พระเกจิขอนแก่น พระกัมมัฏฐาน ธรรมยุต เกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองหมอแคน ขอนแก่น

ประวัติพระครูนิวิฐสมณวัตร (นงค์ ปคุโณ นธ.เอก)ฉบับสมบูรณ์ เผยแผ่เมื่อ วันที่ 10 มิถุนายน 2565 (ขอขอบคุณที่มาข้อมูล ) ชาติภูมิ พระครูนิวิฐสมณวัตร (นงค์ ปคุโณ นธ.เอก) นามเดิม นงค์ นามสกุล ยะหล่อม เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 3สิงหาคม พ.ศ.2493 ซึ่งตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8(ตามปฏิทินจันทรคติ) ปีขาล สถานที่เกิด ต.ศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น บิดาท่านชื่อ นายเกิ้ง ยะหล่อม มารดาชื่อ นางดี ยะหล่อม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้นเจ็ดคน ดังนี้ นายพี ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว นางเข็ม ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว นางบัวลา ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว นายบุญตา ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว นายสงกา ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว นายโสม ยะหล่อม เสียชีวิตแล้ว และ พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงปู่นงค์ ปคุโณ)

ช่วงอายุ20กว่าปี หลวงปู่นงค์บรรพชาอุปสมบท เมื่อ วันจันทร์ ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2515ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือนแปด(ตามปฏิทินจันทรคติ) ปีชวด ณ พัทธสีมาวัดศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น โดย พระมุนีวรญาณ (เจ้าคุณพระมุณีวร ญาณเถร เขียว มหานาโม) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปคุโณ “ พ.ศ. 2515-2518) อยู่จำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น

สมัยนั้นพระภิกษุบวชใหม่ จะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ (เจ้าคุณพระมุณีวร ญาณเถร เขียว มหานาโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น(ธ) เป็นพระอาจารย์ท่านแรก ซึ่งเปรียบเสมือนลูกอยู่กับพ่อแม่ เพื่ออุปฐาก ดูแลรับใช้พระอุปัชฌาย์ ศึกษาข้อวัตร แนวการปฏิบัติตน รู้พระธรรมวินัย จึงจะสามารถไปเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองต่อไป หลวงปู่นงค์ ศึกษาร่ำเรียนนักธรรมและภาษาบาลี จนจบนักธรรมเอก

ครั้นอออกพรรษา หลวงปู่นงค์ มีความรู้สึกว่าจะไม่อยู่วัดศรีบุญเรืองต่อ จะไปศึกษาด้านปริยัติธรรม หรือการออกธุดงค์ ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ตามเทือกเขา ป่าเขาลำเนาไพร เพราะว่าการออกธุดงค์ นับเป็นการไม่ยึดติดกับสิ่งใดสถานที่ปลูกสร้าง สามารถฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ฝึกสมาธิให้มั่นคง พร้อมได้ศึกษาทบทวนข้อวัตรท่านจึงได้ตัดสินใจกราบลา พระอุปัชฌาย์ เพื่อเดินทางออกธุดงค์ โดยจุดมุ่งหมายเดินทางไป จ.สกลนคร เส้นทางผ่าน อ.ส่องดาว จึงได้ไปกราบนมัสการ หลวงปู่วัน อุตตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) วัดวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ซึ่งท่านก็ได้ให้ปฏิปทากับหลวงปู่นงค์ ข้อวัตร ว่า “การปฏิบัติของพระกรรมฐานที่ดี ต้องมุ่นเน้นพระวินัยเป็นสำคัญ โดยให้ไปศึกษาจากพระปาฏิโมกข์” เน้นย้ำ “พระปาฏิโมกข์ คือหัวใจสำคัญของพระภิกษุ การท่องการศึกษา พระปาฏิโมกข์นั้นสำคัญมาก พระภิกษุรูปใด ไม่มีบารมี ก็จะไม่สามาถท่องจำได้ แต่ถ้ามีการฝึกฝน มีความขยันหมั่นเพียร ก็จะสามารถผ่านไปได้ ต่อไปในวันข้างหน้า สามารถปกครองดูแลภิกษุหมู่มากได้” หลวงปู่วัน เป็นพระอาจารย์ท่านที่สองหลวงปู่นงค์ ได้อยู่ดูแลรับใช้อุปฐาก เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงได้กราบลาเพื่อออกเดินธุดงค์ไปศึกษาต่อที่วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม โดยเดินทางเข้ากราบนมัสการ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เพื่อศึกษาข้อวัตรแนวทางปฏิบัติ

พระหลวงปู่ฝั้นฯ ได้เมตตากรุณาปฏิปทากับหลวงปู่นงค์ การฝึกตน “รู้ตั้งสมาธิให้มั่นคง สอนกำหนดจิตใจให้สงบ รู้เท่าทันความกลัว กลัวผีกลัวเสือ เช่น ถ้าจิตใจเรากลัวเสือเมื่อไหร่ เสือมันก็กินจิตใจคนได้ ถ้าเราไม่กลัว เสือมันก็แค่กินร่างของคนต่างหาก นั่นแหละเขาจึงพูดกันว่า ผู้ไม่กลัวตายไม่ตาย ผู้กลัวตายต้องตายเป็นอาหารของสัตว์”

อย่าลืมรู้สติเตือนใจ สอนให้รู้จักตนเองอยู่เสมอ ขณะที่หลวงปู่นงค์ ได้ศึกษาข้อวัตร แนวทางปฏิบัติ และดูแลรับใช้อุปฐากหลวงปู่ฝั้น ที่เป็นพระอาจารย์ท่านที่สามอยู่นั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จมาเยี่ยมหลวงปู่ฝั้น และได้มาประกาศหาพระภิกษุที่มีข้อวัตร มีหลักการ มีแนวทางปฏิบัติ ในสายพระกรรมฐาน ตามรอยธรรมปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การเดินทางแสวงบุญเพื่อเผยแผ่ธรรมและโปรดญาติโยม ที่ภาคตะวันออก ( สำนักสงฆ์ญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี) จำพรรษาที่ห้า(พ.ศ. 2519) จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ญาณสังวราราม อ.บางละมุง จ.ชลบุรี (ปัจจุบันชื่อวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์) หลังจากออกพรรษา ท่านจึงธุดงค์มายังภาคอีสาน จำพรรษาที่หก (พ.ศ. 2520) จำพรรษาที่วัดป่าบ้านยาง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จำพรรษาที่เจ็ดถึงสิบเก้า(พ.ศ. 2521-2533 )

และกลับมาจำพรรษาที่วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น วัดดูน บารมีหลวงปู่ผาง แห่งวัดอุดมคงคาคีรีเขต รุ่งเรืองสูงสุด คือในช่วงปี พ.ศ. 2518 เหรียญพระของหลวงปู่มีหลายรุ่น มีแบบพิมพ์ต่างๆเนื้อโลหะ เนื้อเงิน ทองแดง เนื้อดินผง เป็นต้น

จึงขอเชิญชวน ประชาชนพุทธศาสนิกชน ร่วมงานบำเพ็ญกุศล พระราชทานเพลิงศพ พระครูนิวิฐสมณวัตร (หลวงปู่นงค์ ปคุโณ) ในวันเสาร์ที่18 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. ณ.เมรุชั่วคราว วัดอุดมคงคาคีรีเขต หลวงปู่นงค์