ข่าวอัพเดทรายวัน

ยโสธรเครือข่ายประชาชนสนใจการเมืองยื่นคัดค้านการแบ่งเขตเลือกตั้ง

เครือข่ายประชาชนยโสธรที่สนใจการเมืองได้รวมตัวกันไปชุมนุมที่บริเวณสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธร เพื่อแสดงความคิดเห็นพร้อมกับได้ยื่นหนังสือและอ่านแถลงการณ์จุดยืนความคิดเห็นคัดค้านการแบ่งเขตการเลือกตั้งเป็นรูปแบบใหม่

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น. ประชาชนในอำเภอกุดชุม อำเภอเลินกทา อำเภอไทยเจริญ และเครือข่ายประชาชนยโสธร เขต 1 ที่สนใจการเมือง จำนวนกว่า 600 คน ได้รวมตัวกันไปชุมนุมที่บริเวณสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธร เพื่อแสดงพลังและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแบ่งเขตการเลือกตั้งในจังหวัดยโสธร ของ กกต.ที่มีการแบ่งเขตการเลือกตั้งออกไป 3 รูปแบบ คือ รูปแบบ A, รูปแบบ B และรูปแบบ C ซึ่งรูปแบบ A จะเป็นรูปแบบเดิมที่เคยใช้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา โดยมีแกนนำสลับกันขึ้นปราศรัยแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งอ่านแถลงการณ์จุดยืนความคิดเห็นข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนต่อ กกต.ยโสธรว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดยโสธร ได้ออกประกาศ การแบ่งเขตเลือกตั้งพร้อมเชิญชวน ให้ประชาชนพิจารณา ให้ข้อคิดเห็น 3 รูปแบบ ที่ กกต.ยโสธร นำเสนอได้นั้น เครือข่ายประชาชนฯ ขอแสดงจุดยืนความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ข้อเรียกร้องต่อ กกต.ว่า 1.จำนวน ส.ส.จังหวัดยโสธรไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ลด ไม่เพิ่ม ยังให้มี 3 คน คงเดิม และเขตเลือกตั้งเดิม คือรูปแบบเดิม ที่ใช้มา 4 ปี ไม่มีปัญหา 2.จากรูปแบบเขตเลือกตั้ง ส.ส.ยโสธร 3 รูปแบบ A,B,C ที่ กกต.ยโสธร นำเสนอเผยแพร่ แก่ประชาชน ทั้งรูป 3 แบบ ล้วนผ่านเกณฑ์พื้นฐาน ที่ กกต.กำหนด ทั้งสิ้น เช่น เรื่องพื้นที่ติดกัน ประชากรใกล้เคียง ความเป็นชุมชนใกล้เคียงกัน และการคมนาคมสะดวก 3.กลุ่มเครือข่ายประชาชนฯ ขอเสนอแนะ ให้ กกต..และกกต.ยโสธร เพิ่มดัชนีชี้วัดความเหมาะสมของการแบ่งเขตเลือกตั้ง เพิ่มเติมมาประกอบการพิจารณาเลือกรูปแบบเขตเลือกตั้ง กล่าวคือให้กำหนดค่าผลกระทบต่อประชาชนทุกภาคส่วน ,ความยุ่งยากและเพิ่มภาระงานอันเนื่องมาจากการแบ่งเขตเลือกตั้ง, งบประมาณและเวลาที่ต้องเสียไปในการประชาสัมพันธ์เรื่องเขตเลือกตั้ง และเรื่องความเป็นธรรม ยุติธรรมต่อนักการเมือง และพรรคการเมือง ทุกฝ่าย 4. เมื่อพิจารณาจากความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน รูปแบบ A คือเขตเลือกตั้งเดิม ที่ไม่สร้างผลกระทบใดใด ไม่สร้างความยุ่งยากแก่ประชาชน ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่เพิ่มภาระงานแก่ เจ้าหน้าที่ กกต.และบุคลากรภาคส่วนอื่นที่จะต้องมาช่วยงานการเลือกตั้งให้ความเป็นธรรม ยุติธรรมแก่นักการเมือง พรรกการเมืองทั้งเก่าและใหม่ เพราะเป็นเขตเลือกตั้งที่คุ้นชิน ทุกฝ่ายรับรู้ ส่วนรูปแบบ B และ C ซึ่งถือเป็นรูปแบบเขตเลือกตั้งใหม่ ที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ในประประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง ส.ส.ของจังหวัดยโสธร จะสร้างผลกระทบโดยตรงแก่ประชาชน ถึง 9 ตำบล โดยรูปแบบ B สร้างผลกระทบ 7 ตำบล ( ทุ่งมน,ศรีฐาน,กระจาย,หนองแหน,โพนงาม,น้ำคำ และคำไผ่) รูปแบบ C สร้างผลกระทบ 6 ตำบล คือ (ทุ่งมน,ศรีฐาน,นาโส่, คำแมค,น้ำคำ และคำไผ่) 5. ผลกระทบทางอ้อมที่อาจจะสร้างภาระความยุ่งยาก ในการตีความกฎหมาย กรณี สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ 4 ปี ซึ่งกฎหมายกำหนดข้อห้าม ข้อปฏิบัติในการหาเสียงเลือกตั้งในกรอบเวลา 180 วัน ก่อนครบวาระ…อิงพื้นที่หรือเขตเลือกตั้งเดิม คือ รูปแบบ A หากรูปแบบเขตเลือกตั้งเปลี่ยนใหม่เป็น B หรือ C ข้อพิพาท ความวุ่นวายลับสน การตีความกฎหมายอาจเกิดขึ้นแน่ ในกรณี สภาผู้แทน ฯครบวาระ 4 ปี และ 6. จากเหตุและผลที่กล่าวมานี้ กลุ่มเครือข่ายประชาชนผู้สนใจการเมืองจังหวัดยโสธร ขอเรียกร้องให้ กกต.ยโสธร.และกกต.กลางได้โปรดให้ความเห็นชอบ พิจารณาเลือกรูปแบบเขตเลือกตั้ง ส.ส.ยโสธร เป็นรูปแบบ A ซึ่งเป็นการแบ่งเขตเลือกตั้งเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2562

จากนั้นตัวแทนเครือข่ายประชาชนยโสธรที่สนใจการเมืองได้เข้ายื่นหนังสือต่อ กกต.ยโสธร โดยมี นายธีรวุธ ไชยนนท์ รอง ผอ.กกต.ยโสธร เป็นผู้รับมอบหนังสือ พร้อมกับได้ชี้แจงกับตัวแทนประชาชนฯว่าทาง กกต.ยโสธรได้รับหนังสือแสดงความคิดเห็นแล้วก็จะได้นำส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งส่วนกลางเพื่อให้เป็นผู้พิจารณาต่อไป