ข่าวอัพเดทรายวัน

รองผู้ว่าฯ ขอนแก่น ลงพื้นที่เร่งแก้ปัญหาน้ำบึงแก่นนครเน่าเสีย

รองผู้ว่าฯ ขอนแก่น ลงพื้นที่เร่งแก้ปัญหาน้ำบึงแก่นนครเน่าเสีย เพื่อหาทางปรับปรุงคุณภาพน้ำสืบเนื่องจากปัญหาน้ำในบึงแก่นนครส่งกลิ่น จากการตรวจสอบได้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าเกิดจากมีความเข้มข้นของธาตุอาหารในบึงมากขึ้น เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ธาตุอาหารเหล่านี้กระตุ้นให้พืชบางประเภท เช่น สาหร่ายและวัชพืชในน้ำเจริญมากกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำมีน้อย พืชใต้น้ำเติบโตไม่ได้จึงตายลง และสะสมทำจนให้น้ำเน่าเสีย

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566 ที่ สวนสาธารณะบึงแก่นนคร เทศบาลนครขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น มอบหมายให้ นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น พร้อมด้วยนายภาษิต ชนะบุญ รองปลัดเทศบาล ,นายกวี ศิริชาติวาปี ผู้อำนวยการส่วนช่างสุขาภิบาล ,พนักงานเทศบาล ,เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจบึงแก่นนครเพื่อหาทางปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยมี นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ,นายประจวบ รักแพทย์นายอำเภอเมืองขอนแก่น ส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่

นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง รองนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า ด้วยบึงแก่นนครมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 600 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 400 ไร่ พื้นที่สวนสาธารณะประมาณ 200 ไร่ สภาพปัจจุบันนั้นมีการใช้พื้นที่หลากหลายมีกิจกรรมมากมาย เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งท่องเที่ยว มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ สถานที่สำคัญทางศาสนา ความเชื่อมากมาย นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาการใช้บึงแก่นนครเป็นแก้มลิง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ดังนั้นจากการพัฒนาเมือง กิจกรรมสันทนาการต่างๆที่อยู่โดยรอบจึงส่งผลกระทบแก่ระบบนิเวศ คุณภาพน้ำ ในบึงแก่นนครให้เสื่อมโทรมลง โดยเทศบาลฯได้ติดตามตรวจวัดคุณภาพน้ำพบว่า บึงแก่นนครจัดอยู่ในเกณฑ์แหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 5 มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมากเหมาะแก่การใช้ประโยชน์เพื่อคมนาคม และมีสาหร่ายสีเขียวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกือบทุกปีจะเกิดปัญหาปลาตายเป็นจำนวนมาก ประกอบกับบึงแก่นนครจากการสำรวจสภาพท้องน้ำบางแห่งมีสภาพตื้นเขินมีวัชพืชขั้นปกคลุม ดินตะกอนท้องน้ำไม่เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัยของปลา

นายบุญฤทธิ์ กล่าวอีกว่าการบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนคร แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่1 การบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนครในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม จะมีการปิดน้ำเสียจากท่อระบายน้ำไม่ให้ระบายลงสู่บึงแก่นนคร โดยจะมีการสูบระบายน้ำ ณ สถานีสูบน้ำบึงแก่นนคร เข้าสู่โรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ บึงทุ่งสร้างผ่านคลองร่องเหมือง 2.การบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนครในช่วงฤดูฝน ช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม ในช่วงฝนแรก ยังไม่มีการเปิดประตูน้ำระบายน้ำฝนลงสู่บึงแก่นนคร เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยชะล้างระบบท่อระบายน้ำ ชะล้างตะกอนของน้ำเสียที่ตกค้างภายในระบบท่อออกไปก่อน โดยจะเปิดที่กั้นน้ำให้ไหลเข้าสู่บึงแก่นนครในช่วงฝนต่อมา

นายบุญฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าเนื่องจากบึงแก่นนครเป็นบึงขนาดใหญ่ใจกลางเมือง มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 400 ไร่ เทศบาลนครขอนแก่นได้ใช้ประโยชน์บึงแก่นนครเป็นแก้มลิงในการในเรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครขอนแก่น และบริเวณใกล้เคียง โดยในช่วงฤดูการปรกติ เดือนพฤศจิกายน – เดือนมิถุนายน จะปิดประตูระบายน้ำ ที่ 6 และจุดรับน้ำต่าง ๆรอบบึงแก่นนคร เพื่อป้องกันน้ำเสียไหลเข้าบึง และเทศบาลนครขอนแก่นได้เตรียมการบริหารจัดการน้ำ โดยการลดระดับน้ำในบึงแก่นนคร ให้มีค่าระดับต่ำกว่าระดับน้ำในคลองร่องเหมืองเพื่อเตรียมรับน้ำ เนื่องจากคลองร่องเหมืองเป็นท่อระบายน้ำหลักของเมืองขอนแก่น พอเข้าสู่ช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ถ้าเกิดเหตุฝนตก ท่อระบายน้ำในคลองร่องเหมืองมีระดับสูงขึ้นและสูงกว่าระดับน้ำบึงแก่นนคร เทศบาลนครขอนแก่นจะเปิดประตูระบายน้ำที่ 6 (บึงแก่นนคร) เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำในคลองร่องเหมือง และจะเปิดจุดรับน้ำรอบบึงต่างๆปล่อยน้ำฝนให้ไหลเข้าสู่บึงแก่นนครเพื่อใช้เป็นที่เก็บกักน้ำชั่วคราว หลังจากฝนหยุดตกน้ำในบึงแก่นครมีระดับสูงขึ้น น้ำในคลองร่องเหมืองมีระดับต่ำลง น้ำจากบึงแก่นนครจะไหลกลับเข้าคลองร่องเหมือง เพื่อพร่องน้ำในบึงและเตรียมเป็นแก้มลิงในการรับน้ำฝนต่อได้ ตรวจวัดคุณภาพน้ำเป็นประจำทุกเดือนได้แก่ ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ DO ค่าความสกปรก BOD และค่าความเป็นกรด-ด่าง pH2. เก็บเศษขยะ กำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเหม็นเป็นประจำทุก ฉีดน้ำจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์. ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ จำนวน 6 เครื่อง เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยมี จุดติดตั้งเครื่องเติมอากาศ มีทั้งหมด 6 จุด ดังนี้1 บัวหลวงฝั่งเจ้าแม่กวนอิม 2 บัวหลวงฝั่งตลาด 3 เจ้าพ่อมเหศักดิ์ 4 .ทิศใต้ฝั่งสะพานเฉลิมพระเกียรติ 5.เจ้าแม่สองนาง 6. สวนไหช่วงเวลาการเปิด-ปิด เครื่องเติมอากาศ 3ช่วงเวลา 05.00 – 9.00 น., 16.00-20.00 น. ,23.00-00.20 น. ตรวจสอบแหล่งปล่อยน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่บึง งดตกปลาและงดให้อาหารปลา ปิดทางระบายน้ำเสียไม่ให้ไหลลงบึง

แนวทางการปรับปรุงคุณภาพบึงแก่นนครในอนาคต สำหรับโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำเข้าบึงแก่นนครเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ ช่วงจากคลองชลประทานถึงบึงแก่นนคร แนวความคิดในการเปลี่ยนถ่ายน้ำสะอาดเข้าสู่บึงแก่นนครเพื่อรักษาคุณภาพน้ำปีละ1-3 ครั้ง/ปี จึงเป็นแนวความคิดที่เป็นไปได้ จากการประสานงานกับกรมชลประทานกรมชลประทานยินดีที่จะให้น้ำเข้ามาเติมบึงแก่นนคร โครงการก่อสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกถนนรอบบึงแก่นนคร เนื่องจากท่อระบายน้ำรอบบึงแก่นนครเป็นระบบ Combine System คือรับทั้งน้ำฝนและน้ำเสียในระบบท่อเดียวกัน ดังนั้นถ้าในภาวะปรกติท่อรับน้ำรอบบึงแก่นนครจะถูกส่งไปยังสถานีสูบน้ำเสีย เพื่อสูบน้ำไปบำบัด แต่ถ้าหากเกิดฝนตกหนักเกินศักยภาพของท่อระบายน้ำรอบบึง อาจทำให้เกิดน้ำท่วม น้ำในท่อเออล้น ไหลเข้าไปในบึงแก่นนคร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำในบึงแก่นนครมีคุณภาพต่ำลงได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาระยะยาว เทศบาลนครขอนแก่นมี โครงการก่อสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกถนนรอบบึงแก่นนคร มูลค่าโครงการ 34,000,000 บาท (อยู่ในช่วงขอรับงบประมาณ) ซึ่งถ้าโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยปัญหาน้ำท่วมที่อยู่บริเวณรอบ ๆบึงแก่นนคร และรวมน้ำเสียเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียไหลลงบึงได้ต่อไป