เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 13.30 น.ห้องประชุม 1 ชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมคณะ ให้การต้อนรับ นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ประธานคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการกีฬา ,ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร พร้อมเป็นประธานหารือรูปแบบแนวทางการพัฒนาการกีฬาของไทย ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
การประชุมปรึกษาหารือ ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและคณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำเสนอโครงสร้างกระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา และนโยบายด้านการกีฬาของรัฐมนตรีฯ คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ แผนการดำเนินงานด้านการกีฬาและแนวทางการพัฒนาการกีฬาของไทย กับงบประมาณรายจ่ายระหว่างปี พ.ศ. 2558-2563 รวมไปถึงแผนแม่บทยุทธศาตร์ชาติ ขณะที่คณะกรรมาธิการกีฬาเป็นห่วงในเรื่องปัญหาภาพลักษณ์การตรวจโด๊ปที่ส่งผลต่อนักกีฬาไทยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะส่งผลต่อด้านการท่องเที่ยวไทย กรอปกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในกลุ่มเยาวชนและแก้ไขระบบการบริหารจัดการภายในตามโครงสร้างทั้งหมด
นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ เลขาธิการ กมธ.กีฬา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ต้องการให้ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตรวจสอบ โครงสร้างการกีฬาว่า โครงสร้างนี้ได้ทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยเฉพาะการตั้งบอดร์ ที่ระบุว่า ประธานบอรด์คือ นายกรัฐมนตรี ,การใช้เงินกองทุนพัฒนากีฬา งบกว่า 60% ถูกใช้จ่ายไปกับสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยมากเกินไป แต่การกระจายเงินสู่ท้องถิ่นกลับมีเพียงร้อยละ 10% จึงควรจะกระจายให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ นอกจากนี้การพัฒนา สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพละ ที่ขอฝากคือเมืองกีฬา เพราะมองว่าจะทำให้เกิดการท่องเที่ยวได้มากขึ้น เพราะทุกจังหวัดมีโอกาสไม่เท่ากัน แต่หากมีการสนับสนุนให้เกิดเมืองกีฬาสำหรับเมืองรอง จะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างครึ่งปีแรก จ.ศรีษะเกษ ออกบู๊ทอย่างเดียวแต่มาในปีหลังมีการจัดกิจกรรมทำให้เกิดเงินหมุนเวียนและยืนขึ้นได้
นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ประธาน กมธ.กีฬา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ช่วยให้ความเป็นธรรมในทุกด้านกับนักกีฬา เริ่มจาก พ.ร.บ.กีฬามวย พ.ศ.2542 ที่ต้องการให้มีการแก้ไจ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนนักมวย การสังกัดค่าย หรือแม้แต่การกำหนดช่วงอายุในการชกมวยฯ พ.ร.บ.สถาบันการพลศึกษา พ.ศ. 2548 ,พ.ร.บ.ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 , พ.ร.บ.ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับสัญญาจ้างนักกีฬาอาชีพ หรือไม่แต่การล้มกีฬาอาชีพและการควบคุมสมาคมและนักกีฬาอาชีพ และยัง รวมไปถึง พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ขอบเขตการใช้เงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ การจัดเงินรางวัล สวัสดิการของนักกีฬา เช่นค่าตอบแทนหรือ เงินตอบแทนให้แก่นักกีฬาคนพิการ และเรื่องเฉพาะหน้ากีฬายกน้ำหนักไทย ซึ่งต้องติดโทษแบน รวมถึงการลักลั้นต่อการะบวนการจัดงานในการให้ความเป็นธรรมต่อนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันในต่างประเทศจึงต้องการให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมแก้ไขปัญหานี้ด้วย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ถือเป็นการหารือและให้คำแนะนำที่ดีมาก เพราะมองได้จากการแข่งขันซีเกมส์ ที่ปกติกีฬาฟุตบอลไทยจะได้แชมป์แต่ในระยะหลังตกชั้นลงมาคงต้องแก้ไข เรื่องปัญหาการโด๊ปในนักกีฬาไทยและในอีกหลายประเภทกีฬา ไม่ว่าจะเป็นกีฬาเทนนิส ว่ายน้ำ รวมไปถึง การแก้ไขกฏหมายต่างๆกับเรื่องที่มีการนำเสนอโดย คณะกรรมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร
“ในด้านการกีฬาซึ่งรับผิดชอบโดยกระทรวงฯ เรามีต้นน้ำ คือ กรมพล กลางน้ำคือมหาวิทยาลัยกีฬา และปลายน้ำ คือ กกท. เราทำงานเต็มที่ แต่กระทรวงฯ ถูกลดงบประมาณลงทุกปี ทั้งที่เราฝันว่าเราจะเป็นอุตสาหกรรมกีฬา เพราะในด้านกีฬาจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะคำแนะนำที่ว่า เมืองรองทางการกีฬา ขอชื่นชมเพราะได้ให้แนวคิดใหม่และถือว่าจะได้รับประโยชน์จากแนวทางนี้” นายพิพัฒน์ กล่าวฯ