วันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ศาลาปฏิบัติธรรมชมรมคนมีบุญ วัดบ้านอ้น ต.ดงลาน อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด พระอุดมปรีชาญาณ รองเจ้าคณะภาค 9 เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก เป็นประธานพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พัดรอง ให้แก่วัดต้นแบบ “โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข “ซึ่งได้ดำเนินการพัฒนาวัด ด้วยแนวทาง 5 ส จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2566 โดยมี พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รอง ผวจ.ร้อยเอ็ด นายประยูร จรเจริญ ผอ.สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาสวัดต่างๆ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมอนุโมทนา
พระครูสุวรรณโพธาภิบาล เจ้าคณะอำเภอโพนทอง ประธานฝ่ายสาธารณคณะสงฆ์ จังหวัดร้อยเอ็ด รายงานว่า ตามที่มหาเถรสมาดมได้มีมติให้วัดทั่วราชอาณาจักรดำเนินการขับเคลื่อน โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โคยใช้หลัก 5 ส เป็นแนวทางในการคำเนินงาน เพื่อพัฒนารูปแบบและนำแนวคิดของ 5 ส ซึ่งประกอบไปด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย ลงสู่บริบทของวัด และชุมชน ส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่ทางจิตใจและปัญญา โดยการบูรณาการแนวคิด 5 ส หลักสัปปายะ 7 และหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ประชาชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง พัฒนาและจัดระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ในการพัฒนาวัดและชุมชน รวมทั้งการออกแบบพื้นที่ของวัดให้เป็นสัปปายะสถาน และการพัฒนาสู่วิถีแห่งอารยสถาปัตย์ ส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมไทย รวมถึงกลุ่มวิชาชีพ ตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคม การมีจิตอาสา ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อทำให้เกิดสังคมสุขภาวะและความยั่งยืน
ในการนี้ ฝ่ายสาธารณูปการคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3ไตรมาส ไตรมาสละ 4 เดือน ในแต่ละรอบปี ซึ่งกำหนดให้แต่ละอำเภอคัดเลือกวัด ที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ และพระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการออกตรวจเยี่ยม ติดตามประเมินผล การดำเนินงาน พร้อมทั้งคัดเลือกวัดต้นแบบในแต่ละอำเภอ ตามรอบไตรมาส เพื่อให้วัดต้นแบบดังกล่าวได้เป็นที่ศึกษาดูงานของวัดอื่นๆ ในอำเภอที่เข้าร่วม โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ในปี 2566 มีวัดเข้าร่วมโครงการฯและผ่านการตรวจประเมิน จำนวน 62 วัด โอกาสนี้ได้ มอบเกียรติบัตรให้กับผู้อุปถัมภ์โครงการฯ ในคราวเดียวกันด้วยสำหรับวัดที่เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ พัดรอง 62 วัด
พระอุดมปรีชาญาณ รองเจ้าคณะภาค9 เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกได้กล่าวสัมโมทนียกถา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานว่า คณะสงฆ์ จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นต้นแบบจัดโครงการฯ ขออนุโมทนาชื่นชมยินดี และแสดงความยินดี แสดงความดีใจกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ภายใต้ การนำของพระเดชพระคุณ พระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ในฐานะตัวแทนของมหาเถรสมาคมที่ได้คัดเลือกวัดทั้ง 62 วัด จากทั่วทั้งจังหวัด ซึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด มีวัดนับพันวัด ถือว่าวัดที่ได้รับมอบโล่ในวันนี้ เป็นหนึ่งในหลายหมื่นวัดทั่วประเทศไทย วัดหลายแห่ง เจ้าอาวาสในแต่ละวัด ได้บริหารจัดการ ส่วนที่พระเดชพระคุณดูแลวัดได้อย่างงดงามโดยมีญาติโยม สาธุชนทุกๆคนทุกๆท่านได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเป็นเรื่องดี รางวัลหรือโล่ประกาศเกียรติคุณที่จัดโดยคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด และจัดทำพัดรองขึ้น ในโอกาสที่วัดต่างๆได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เพื่อประกาศเกียรติคุณให้เป็นวัดต้นแบบในโครงการ ทุกๆรูป ถือว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้กิจการของพระพุทธศาสนาของเราได้เป็นหน้าเป็นตา เป็นศักดิ์เป็นศรี นำเกียรติยศนำเกียรติคุณ เกียรติประวัติมาสู่วัดวาอารามของเรา หมู่บ้านของเรา วัดของเราสะอาดสวยงาม วัดของเราเกิดการพัฒนาครบทุกด้าน ตามแนวทางของ 5 ส ก็ด้วยอาศัย ความร่วมมือของเจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณรทุกรูป รวมถึงชาวบ้านทุกคนทุกท่าน สมกับโครงการที่ว่า วัด ประชารัฐ สร้างสุข ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว อาตมาได้รับเกียรติจาก หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัด โดยท่านอาจารย์พระครูมหาธรรมบาลมุนีเจ้าคณะอำเภอโพนทราย เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เจ้าอาวาสวัดบ้านอ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นเจ้าภาพหลักในการรับรองจัดพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ในครั้งนี้ เหมือนอย่างปีที่แล้ว คณะสงฆ์ถือว่า โชคดีที่โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ถ้าเรามองแค่ตัวอักษร ว่า วัด ก็ดีประชาก็ดี รัฐก็ดี สร้างสุขก็ดีหมายถึงว่าส่วนของวัดวาอารามพระภิกษุสามเณร ชาวบ้าน ส่วนของหน่วยงานราชการ หรือว่าภาครัฐต่างๆ ได้ร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาวัดวาอารามให้เป็นศูนย์กลางในทุกๆด้าน เหมือนอดีตที่ผ่านมา วัดของเรานั้นได้รับการยกย่องได้รับเกียรติจากชาวบ้านทุกคนในสังคม ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาด้านต่างๆ ทั่วทั้งชีวิตของประชาชนก็ว่าได้ ฉะนั้นโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข ถ้าเราแยกเป็นตัวอักษรออกมา วัดก็คือ (ว)ประชาก็คือ (ป) รัฐก็คือ (ร)เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้เกียรติ ให้เป็นวัดต้นแบบนั้นเป็นเรื่องที่ดีมีความสำคัญไม่แพ้รางวัลใดๆในโลกใบนี้เลย เมื่อพัฒนาแล้วจะทำให้วัดของเราเป็นวัดที่สมบูรณ์แบบ สมกับเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ ว่าเรามีวัดเพื่อให้เป็นอารามคำว่า “อาราม” คือเป็นที่รื่นรมย์เป็นที่มาแห่ง ความยินดีหมายความว่า พระภิกษุ สามเณร ที่อยู่ในวัดมีความสุข มีความผาสุก มีความยินดีที่จะอยู่ประพฤติปฏิบัติธรรมในวัด อย่าง อย่างมีสุข คนภายนอกมาพบมาเห็นมาทำกิจกรรม มาทำพิธีกรรมในวัดก็ต้องยินดี ทุกคนที่มาภายในวัดของเราเข้ามาแล้วต้องเกิดความยินดี ความสุขใจ ทำภารกิจศาสนกิจเสร็จแล้วกลับไปก็ดีใจ และยินดีว่าโอกาสหน้าจะต้องกลับมาอีก หรือวันนี้มาพรุ่งนี้มาอีก เป็นที่มาแห่งความยินดี
ส่วนวัดอื่นที่ยังไม่ได้รับโอกาสก็อย่าเพิ่งน้อยเนื้อต่ำใจ อย่าคิดว่าคณะกรรมการชุดนี้ ใช้หลักเกณฑ์ไหนมาพิจารณา ทำไมวัดเราไม่ได้ ทำไมวัดนั้นได้ อย่าคิดอย่างนั้นเลย ตราบใดที่เรายังมุ่งพัฒนาวัดของเราอยู่เสมอ เรื่องของรางวัล เรื่องของขวัญ ถือเป็นกำลังใจ หน้าที่หลักของเราก็คือทำวัดให้เป็นอาราม คือเราอยู่เราก็ยินดี ใครผ่านไปผ่านมาก็ต้องยินดี เข้ามาวัดเรา ถ้าทำได้อย่างนี้เราก็ยิ่งกว่าได้โล่ ยิ่งกว่าได้แก้วอันประเสริฐมากกว่าสิ่งใดในโลกนี้
ฉะนั้นรางวัลอันประเสริฐคือความสวยสดงดงาม การทำสถานที่ประทับ ก็คือวัดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะ เราเป็นลูกในฐานะ เราเป็นพุทธสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เกิดความสวยสดงดงาม นั่นคือบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ไพศาลที่สุด