( 10 พ.ค.66 ) เริ่มแล้วสืบสานประเพณีแห่นาคโหดมีให้ชมหนึ่งเดียวในในพื้นที่หมู่โนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงข้างขึ้นเดือน 6 ปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 มีชายหนุ่มในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี ร่วมบรรพชาหมู่รวม 8 รูป
ซึ่งเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้นชื่อของ จ.ชัยภูมิ มีหนึ่งเดียวในโลกมายาวนานจนปัจจุบัน ที่ตั้งแต่บรรยากาศช่วงเช้าวันนี้เริ่มจากจะเป็นการให้ผู้เป็นพ่อ และแม่(บิดามารดา)ได้ปลงผมให้กับบุตรที่จะบวชในปีนี้ที่บ้านตัวเอง ก่นที่ในช่วงบ่ายนาคทุกคนจะมารวมกันที่วัดตาแขก ซึ่งเป็นวันประจำหมู่บ้าน เพื่อประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญนาค โดยมี นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีและลงมือตีกลองเพลนประจำวัด เพื่อให้กลองเพลนส่งเสียงดังมากที่สุด ให้ประชาชนในทุกหมู่ที่ได้ยินออกมาร่วมเปิดประเพณีการแห่นาคโหด
ที่ในปีนี้ต่างมีชาวบ้านนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัด และต่างจังหวัด รวมถึงชาวต่างชาติ ที่ทราบข่าวว่ามีการจัดประเพณีแห่นาคโหดในปีนี้ขึ้นวันนี้ ต่างพากันเดินทางเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อรอชมและร่วมแห่ขบวนแห่นาคโหดกันคึกคักมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา จนแน่นบริเวณลานวัดตาแขก เลขที่ 333 บ้านโนนเสลา ต.หนอตูม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
โดยประเพณีแห่นาคโหด เริ่มตั้งแต่ทั้งบรรดาญาติๆ เพื่อนฝูงของนาคที่จะบวชในวันนี้แต่ละนาค และนักท่องเที่ยวทั้งในพื้นที่ และต่างจังหวัดขอร่วมแจมในการร่วมขบวนแห่นาคโหดไปด้วย ซึ่งเมื่อได้นำนาคแต่ละคน ขึ้นนั่งบนแคร่ไม้ไผ่ที่มีคานหามและนาคจะถูกเซิ้ง(ถูกโยน)แห่ออกจากวัดตาแขก เป็นจุดเริ่มทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีทั้งโยก-โยน-ยก-เหวี่ยงคานหาม ไปตามจังหวะดนตรีอย่างสนุกสนาน โดยคนแห่นาคส่วนใหญ่จะเป็นเพื่อนกันกับรุ่นพี่และรุ่นน้องกับนาคที่บวช จึงจะต้องมีทั้งโยก โยนนาคอย่างเต็มที่ เพื่อทดสอบความอดทน ที่ตัวนาคที่บวชเองจะต้องประคองตัวเองไม่ให้ตกจากแคร่คานหามไม้ไผ่ที่แห่ไปรอบทั่วหมู่บ้านยาวหลายกิโลเมตรและวนกลับมาเข้าโบสถ์บวชให้ได้ ซึ่งหากระหว่างทางนาคคนใดที่ตกจากแค่คานหามก็ถือว่าไม่สามารถผ่านเข้ามาทำพิธีบวชได้ เป็นกติกาสำคัญที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานจนปัจจุบัน
ที่จะมีความสนุกสนานตั้งแต่เมื่อขบวนแห่นาคโหดออกจากประตูวัดตาแขกเพื่อแห่ไปรอบหมู่บ้าน ได้เพียง 3 นาค ได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก แต่ก็ดูจะไม่เป็นอุปสรรคของขบวนแห่นาคโหดแต่ละนาคในปีนี้เลย ก็ยังมีการแห่ขบวนต่อไปทั้งแห่ทั้งโยก ทั้งโยนนาคท่ามกลางสายฝน และสนุกสนานกับการเต้นออกสเต็ปกันอย่างสนุกสนานหน้ารถแห่ กลางสายฝน เป็นที่ประทับใจกันทั้งคนหามคนแห่ และนักท่องเที่ยวที่มารอชมในปีนี้อย่างคึกคักกว่าทุกปีอีกด้วย
ซึ่งการแห่นาคโหดที่ จ.ชัยภูมิ ถือเป็นบททดสอบความอดทดของนาคชายหนุ่มในหมู่บ้านทุกคน ที่จะต้องออดทนตั้งใจที่ผ่านด่านแห่นาคโหดไปให้ได้ ที่ถือว่าเป็นการฝ่าอุปศักดิ์ที่จะต้องทดแทนคุณพ่อแม่ในการเข้าทำพิธีบวชด้วยการผ่านด่านแห่นาคโหดของชาวบ้านที่นี่ทุกคน และบรรยากาศการแห่นาคโหดในปีนี้ถึงจะมีความรุนแรงหวาดเสียวไปบ้างก็ไม่มีใครได้รับอันตรายรุนแรงใดๆสามารถผ่านพิธีแห่นาคเข้าบวชได้ทุกคน
ของประเพณีแห่นาคโหดของชาวบ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลานานหลายชั่วคนจากรุ่นสู่รุ่น จนเป็นตำนานของประเพณีการแห่นาคโหด เป็นการทดสอบความอดทดของลูกผู้ชาย ต้องมีความอดทน มีสติ ไม่ย่อท้อต่อปัญหา และความตั้งใจที่จะฝ่าด่านคานหามแห่นาคโหดเข้าไปให้ถึงวัด เพื่อเข้าพิธีบวช หรืออุปสมบท ทดแทนคุณบิดามารดาของตนเองให้ได้ ซึ่งการหามแห่นาครอบหมู่บ้าน จะหามนาคบนคานหามแคร่ไม้ไผ่ ญาติๆและเพื่อนฝูง จะโยก-โยน-ยก-เหวี่ยงคานหาม ให้นาคฝึกความแข็งแรง-ความอดกลั้น-ความอดทนของสภาพร่างกายจิตใจต่อสู้กับความทุกข์ทรมาน ที่เกิดจากการถูกแกล้ง ของบรรดาลูกหาบ ให้นาคได้ระลึกถึงพระคุณของบิดา-มารดา ที่ได้เลี้ยงดูจนเติบโต และตระหนักเห็นถึงความยาก-ความลำบาก ของผู้เป็นมารดา ที่ได้ตั้งท้องทะนุ-ถนอม มาลูกทุกคนมานานถึง 9 เดือน จนครบกำหนดและคลอดแล้ว ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ ได้ที่จะต้องประสบกับความทุกข์ทรมานนานนับประการ ทั้งการเข้ากระโจมกินนอนบนแคร่ไม้ไผ่ ที่มีการก่อไฟด้วยฟืนลุกไหม้ให้ความร้อนตลอดเวลา ให้มีน้ำนมสำหรับเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ นาคที่ได้ผ่านการแห่นาคโหดและได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์สำเร็จ จึงเป็นความภาคภูมิใจของทุกๆคน ที่ได้มาร่วมงานบุญอันยิ่งใหญ่นี้ จนได้รับการเรียกขานจากบุคคลทั่วไปว่า “การแห่บวชนาคโหด” ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย หรือในโลก ที่ชาวบ้านโนนเสลาได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้เป็นประเพณีอันดีงามคงอยู่คู่เมืองชัยภูมิและประเทศไทยมาได้ยาวนานจนปัจจุบัน