เผยแพร่ความรู้การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
14 05 67 นายจักรินทร์ ชารีพุทธพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมุกดาหาร นางอริสฌา เวียงสมุทร หัวหน้ากลุ่มงานจัดการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วม จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ณ ห้องพลอยบอลรูม โรงแรมพลอย พาเลซ จังหวัดมุกดาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลที่สนใจจะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา รวมจำนวนทั้งสิ้น 100 คน
นายจักรินทร์ ชารีพุทธพงศ์ ผอ.กกต.ประจำจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า การเลือกรัฐธรรมนูญกำหนดว่า สว.ให้มีการเลือกโดยการเลือกกันเฉพาะผู้สมัครรับเลือก ไม่ได้ให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง การเลือก สว.ครั้งนี้ต่างกันกับครั้งที่แล้ว สว.โดยการเลือก 200 คน โดยการเลือกมีทั้งหมด 3 ระดับ 1.การเลือกระดับอำเภอ 2. เลือกระดับจังหวัด 3.เลือกระดับประเทศ ในการเลือกแต่ละระดับมีการเลือก 2 รอบ รอบแรกให้ผู้สมัครแต่ละกลุ่มให้มีทั้งหมด 20 กลุ่มเลือกกันเอง แล้วเอาตัวแทนในแต่ละกลุ่มจำนวน 5 คน คือ คนที่ได้คะแนนสูงสุด เข้าไปสู่รอบที่ 2 เป็นการจับสลากแบ่งสาย สายละ 3-5 กลุ่ม ขึ้นอยู่ว่าในอำเภอนั้นมีผู้สมัครทั้งหมดกี่กลุ่ม แล้วแบ่งเป็นสาย แล้วลงคะแนนรอบที่ 2 จะให้ลงคะแนนภายในสาย แต่ห้ามเลือกผู้สมัครในกลุ่มของตัวเอง และห้ามเลือกตนเอง ต้องเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่น ที่อยู่ในสายเดียวกันลงคะแนนให้
จากนั้นจะนำผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-3 ของแต่ละกลุ่มเป็นตัวแทนเข้าไปสู่ระดับจังหวัด ระดับจังหวัดมีการเลือก 2 รอบ รอบแรกเลือกในกลุ่มเดียวกันให้ได้ 5 คน เข้าสู่รอบ 2 จับสลากบ่างสาย เลือกไขว้ ห้ามเลือกตัวเอง จากนั้นนำคนที่ได้คะแนนสูงสุด ในแต่ละกลุ่มลำดับที่ 1 และ 2 เป็นตัวแทนจังหวัดเข้าไปเลือกระดับประเทศต่อไป
ในวันนี้สำนักงาน กกต. ประจำจังหวัดมุกดาหาร ก็ได้เชิญผู้สนใจ รวมถึงผู้ที่จะสมัครรับเลือกเป็น สว. ได้มาประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการเลือก สว. ในครั้งนี้ รวมทั้งคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร เพื่อให้ประสงค์จะสมัครได้ตรวจสอบตัวเอง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ หรือมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ เพราะอาจขากคุณสมบัติมาสมัครแล้ว อาจมีโทษตามกฎหมาย ไม่อยากให้เกิดประเด็นนี้ขึ้น จึงได้จัดงานในวันนี้ขึ้นมา เพื่อให้ผู้สมัครและผู้สนใจได้มีความรู้เบื้องต้นก่อนที่จะมีการสมัคร อยากให้พ่อแม่พี่น้องท่านใดที่มีคุณสมบัติครบ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ต้องการประสงค์จะลงรับสมัครเลือก สว. ให้ไปสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 20 – 24 พ.ค. 67 ที่อำเภอที่ท่านประสงค์จะสมัคร คือ ที่ว่าการอำเภอ สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่อที่ว่าการอำเภอโดยมีนายอำเภอเป็นประธานระดับอำเภอ และมีเจ้าหน้าที่รับสมัคร การรับสมัครอาจจะไม่เร่งรีบ เพราะหมายเลขประจำตัวผู้สมัครไม่ได้ขึ้นอยู่กันว่าใครมาสมัครก่อนหลัง เมื่อผู้สมัครทุกคนลงรับสมัครครบหมดแล้ว ถึงวันที่ 24 พ.ค. ระบบการรับสมัครจะเป็นคนเรียงลำดับหมายเลขสมัคร เรียงลำดับตามตัวอักษร เป็นกำหนดในกฎหมายและระเบียบของ กกต. ว่าหมายเลขจะได้ตามลำดับตัวอักษรของชื่อ นามสกุล ของผู้สมัคร
จังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ ก็อยากมีตัวแทนสมาชิกวุฒิสภา หากท่านใดสนใจสมัครเลือก สว. ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติตัวเอง ตรวจสอบลักษณะต้องห้าม หากท่านมีข้อขัดข้องสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดมุกดาหาร ค่าสมัคร 2,500 บาท เอกสารต้องเตรียม ค่าสมัคร เอกสารการสมัคร บัตรประชาชน ไปขอใบสมัครที่อำเภอ
ในส่วนของการตรวจสอบคุณสมบัติมีข้อห้าม 26 ข้อ มีบางข้อที่ สำนักงาน กกต. ตรวจสอบให้ได้ เช่น การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แต่เรื่องเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ก็สามารถมาสอบถามได้
ทั้งนี้ กกต.มีความพร้อม มีการเตรียมการมาพอสมควร เพียงแต่ว่าครั้งนี้มีการใช้ที่เต็มรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ตามบทเฉพาะกาลเหมือนการเลือก สว. ครั้งที่แล้ว คือจะมีการเลือก 2 รอบ เป็นการเลือกปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งสำนักงาน กกต. มีการจำลองแบบการเลือกไขว้ ปรากฏว่าสามารถดำเนินการไปอย่างราบรื่น อยากให้ท่านใดที่สนใจสามารถไปติดตามดูคะแนนเลือกได้ โดยการเลือกระดับอำเภอในวันที่ 9 มิถุนายน 67 การเลือกระดับจังหวัดวันที่ 16 มิถุนายน 67 และการเลือกระดับประเทศวันที่ 26 มิถุนายน 67 สามารถไปสังเกตการณ์ดูได้ ในวันที่ 16 มิถุนายน 67 ระหว่างเวลา08.30 น. – 16.30 น. ในการเลือกระดับอำเภอ โดยกำหนดสถานที่หอประชุม 250 ปี
เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้อนุมัติงบประมาณ ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมุกดาหาร ดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาให้กับบุคคลที่มีความสนใจที่จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน บทบาทหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภากระบวนการและขั้นตอนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินการให้ได้มา ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาอย่างอิสระ ปราศจากการครอบงำ และชอบด้วยกฎหมาย .