วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.39 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด จัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (CBTx) โดยนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธาน ซึ่งได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดความรุนแรงของปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบและเห็นผลตามแนวนโยบาย “ปลุกชุมชนให้เข้มแข็ง เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย ปราบปรามสกัดกั้นยึดทรัพย์ผู้ค้า ขจัดข้าราชการทุจริตพัวพันยาเสพติดให้สิ่ง” ตามประมวลกฎยาเสพติดเพื่อนำนโยบายสู่การปฏิบัติและให้เกิดการขับเคลื่อนปัญหายาเสพติดอย่างเร่งด่วน ส่งเสริม สนับสนุนให้มีกลไกระดับอำเภอ โดยบูรพาดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบนโยบายและข้อสั่งการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด (30 เมษายน 2567) ให้ทุกจังหวัดจัดระบบบริการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดให้เป็นไปตามแนวทางการรับไว้ดูแล บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด (Patient journey) เปิดหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลนครพนม “หอผู้ป่วยจิตเกษม” ขับเคลื่อนงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในระดับจังหวัด โดยบูรณาการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด บูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน ทีม 5 เสือ ได้แก่ อสม./เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น อบต. ฝ่ายปกครอง และตำรวจ รวมทั้งการขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในชุมชน และการค้นหา คัดกรอง บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน “ชุมชนล้อมรักษ์ CBTx: Community Based Treatment and Rehabilitation) ทั้งนี้ บูรณาการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
ในส่วนการคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติด ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด คัดกรองผู้ใช้ ผู้เสพ ผู้ติด แบบคัดกรอง (V.2) ประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว ส่งต่อเจ้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟู ประเมินอาการทางจิต 5 สัญญาณเตือน ได้แก่ ไม่หลับไม่นอน เดินไปเดินมา พูดจาคนเดียว หงุดหงิดฉุนเฉียว เที่ยวหวาดระแวง ทั้งนี้ เมื่อผู้ป่วยทุกกลุ่มสีพ้นระยะการบำบัดรักษาทางการแพทย์ สามารถส่งต่อฟื้นฟูทางสังคมในฟื้นฟูสภาพทางสังคมของกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอรับการช่วยเหลือทางสังคม เช่น การศึกษา การจัดหางาน การพัฒนาฝีมืออาชีพ เงินทุนประกอบอาชีพ การรักษาสุขภาพ ทั้งนี้ จังหวัดนครพนม ได้บูรณาการบทบาทภาคีเครือข่าย 5 เสือ เปิดปฏิบัติการซ้อมแผนระงับเหตุความรุนแรง : กรณีผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดคลุ้มคลั่งอาละวาด ด้วยชุดสาธิตจำลองสถานการณ์ จำนวน 12 อำเภอ”
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ได้มีการพิจารณาสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (มณฑลทหารบกที่ 210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง) เตรียมรับ-ส่ง ผู้ป่วยยาเสพติด เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ รุ่นที่ 2/2567 จำนวน 30 คน รายงานผลการดำเนินงานสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รุ่นที่ 1 หลักเกณฑ์การพิจารณา และเงื่อนไขนำส่งผู้ป่วยยาเสพติด ภารกิจเกี่ยวกับสาธารณสุขด้านการดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด การส่งต่อหน่วยบริการ ของหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเ.ฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) ผลการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งสรุปข้อมูลศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาล สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม การจัดตั้งศูนย์คัดกรองคุณภาพ (กระทรวงสาธารณสุข) เพื่อรับรองคุณภาพศูนย์คัดกรอง พิจารณาคัดเลือก 1 อำเภอ 1 ศูนย์คัดกรอง และของกระทรวงมหาดไทย 1 แห่ง การรับรองคุณภาพสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มณฑลทหารบกที่ 210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง และแผนการจัดตั้งศูนย์พักคอยจังหวัดนครพนม เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดก้าวร้าวรุนแรงในชุมชน
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงาน สุขภาพจิตและยาเสพติด ได้จัดทำแผนปฏิบัติการบำบัดฯ ผู้ติดยาเสพติด (กลุ่มสีแดง : ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการจิตเวชร่วมด้วยและกำลังแสดงอาการอาละวาดคลุ้มคลั่ง) ภายใต้ “โครงการบูรณาการป้องกันบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครพนม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567” ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงาน ป.ป.ส. ในมินิธัญญารักษ์จังหวัดนครพนม และสถานฟื้นฟูฯ รวม 6 แห่ง ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชธาตุพนม โรงพยาบาลโพนสวรรค์ โรงพยาบาลนาหว้า โรงพยาบาลศรีสงคราม โรงพยาบาลเรณูนคร และสถานฟื้นฟูฯ (มทบ.210) โดยรุ่นที่ 1 จะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2567 จำนวน 180 คน และรุ่นที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2567 จำนวน 180 คน รวม 360 คน