ที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute; MI) และพันธมิตร ร่วมกันจัดการประชุมสัมมนา Mekong Forum ครั้งที่ 10 เพื่อแลกเปลี่ยนและหารือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุ-ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ในช่วงสิบปีที่ผ่าน ในหัวข้อ “การข้ามผ่านสู่ขอบฟ้าใหม่ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และเทคโนโลยี (DIT) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” เพื่อกำหนดอนาคตในด้านนวัตกรรมและขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมีดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง เป็นประธานกล่าวเปิดงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน จากกว่า 25 ประเทศ
นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า งานการประชุมสัมมนา Mekong Forum เป็นเวทีเปิดสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมารวมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาที่มีความสำคัญกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งระบุแนวทางแก้ไขที่จะนำไปสู่ประโยชน์ของทุกภาคส่วน นี่คือสิ่งที่ Mekong Forum ทำ นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเชื่อมช่องว่างระหว่างนโยบายและการนำไปปฏิบัติโดยใช้ประโยชน์และศักยภาพจากการมีอยู่ของเทคโนโลยีดิจิทัล ในขณะที่มีนโยบายอยู่แล้ว เราต้องแน่ใจว่านโยบายเหล่านั้นได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล วิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายนี้คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและร่วมกันหารือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
“การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งยังเน้นย้ำถึงความสามารถของเทคโนโลยีที่สามารถขับเคลื่อนอนาคตอันยั่งยืนได้นั้นมักจะมาพร้อมกับความร่วมมือของทั้งภาครัฐ บุคลากรที่มีความสามารถ และความไว้วางใจของประชาชน ทั้งยังได้แนะนำศูนย์วัฒนธรรมดิจิทัลและเศรษฐกิจยั่งยืน (E-DISC) โดยนำเสนองานวิจัยและความพยายามในการสร้างศักยภาพเพื่อส่งเสริมความเป็นดิจิทัลและอนาคตที่ยั่งยืน”
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า การประชุมเพื่อหารือถึงวิธีการออกแบบให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและเพิ่มประสิทธิภาพ รวมไปถึงช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และผลกระทบที่ตามมาอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญคือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของความรู้ดิจิทัล รวมไปถึงความท้าทายระดับโลก เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์และช่องว่างทางดิจิทัล อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถลดต้นทุน สร้างโอกาส ลดช่องว่างทางสังคม และป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้อีกด้วย
สำหรับงานประชุมสัมมนา Mekong Forum 2024 โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างกลยุทธ์นวัตกรรมระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์อนุ-ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 230 (GMS-2030) และเป้าหมายด้านดิจิทัลและความร่วมมือของภูมิภาคในอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหวังของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงงาน โดยภายในงานประชุมสัมนาทั้งสองวันยังถูกแบ่งออกเป็นการประชุมย่อยจำนวน 7 หัวข้อ โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรวมกว่า 30 ท่านเป็นผู้ดำเนินการประชุม กล่าวถึงประเด็นหลักสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และเทคโนโลยี (DIT)