ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย นายกสมาคมไทยบิสป้า (Thai-Bispa), นายปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, Ms.Onnapha Xayasouk CEO of Phaiboun Trading Import-Export Company Limited, Ms. Manivanh Douangsavanh Acing CEO of Somboun Agriculture, Industry and Tourism Development Co., LTd, นายชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทไอโซวอลล์ เอ็นจิเนียริ่ง(ไทยแลนด์), รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้งบริษัท SUPAWAT Group Sole(SG) จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของการแปรรูปผลไม้ ระหว่างบริษัท SUPAWAT Group Sole จำกัด และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานขอนแก่น สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) บริษัท APT จำกัด และบริษัท SAITD จำกัด โดยมีตัวแทนองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน และสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้
การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของประเทศไทยได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัท Supawat Group Sole (SG) จำกัด โดยการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจพงสะหวัน เพื่อยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร ที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ของ สปป.ลาว เพื่อทำให้เกิดการแปรรูปผลไม้ที่ได้มาตรฐานการส่งออก โดยมีภาคีคู่ค้าทางธุรกิจที่สำคัญคือ บริษัท Phaiboun Trading Import-Export Company Limited (APT) และบริษัท Somboun Agriculture ,Industry and Tourism Co., Ltd. (SAITD) รวมถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอบรม ถ่ายทอด นวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เพื่อให้เกิดการยกระดับความรู้ ทักษะในการพัฒนา สินค้าทางการเกษตร โดยใช้ความร่วมมือกับภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนของประเทศไทย และประเทศอื่นๆ อันจะนำสู่การประสานความร่วมมือระหว่างภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
นอกจากนี้ สปป. ลาว ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนจากต่างประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูปผลไม้ ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และการสนับสนุนจากรัฐบาลลาว นักลงทุนจะสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบคุณภาพสูง พร้อมด้วยโครสร้างพื้นฐานที่กำลังพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลก นอกจากนี้ สปป. ลาว ยังมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน และสิทธิประโยชน์ด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่ดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในภูมิภาคอาเซียนความร่วมมือนี้ จึงไม่เพียงแต่จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในด้านการเกษตรและการแปรรูปผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมใน สปป.ลาว อีกด้วย ทั้งนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นในระยะยาว