วันที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 13.00น. ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย จากสถานการณ์น้ำโขงล้นตลิ่งจังหวัดเลย ชั้้น 2 ที่ว่าการอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วย นายสมเจตน์ แสงเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลย เขต 4 ,นายกิตติคุณ บุตรคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายอภินันต์ สุวรรณโค นายอำเภอเชียงคาน และ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมสรุป หาแนว มาตรการ เตรียมการรองรับมวลน้ำจำนวนมาก จากภาคเหนือของไทย และ น้ำจากเขื่อนไชยะบุลี สปป.ลาว แก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอปากชมและอำเภอเชียงคาน
โดยช่วงเช้า ผู้ว่าฯ และคณะ ออกตรวจพื้นที่น้ำท่วมในเขตเทศบาลตำบลปากชม ตำบลห้วยพิชัย และตำบลหาดคัมภีร์ มีพื้นที่ที่น้ำท่วม ล้นตลิ่ง นอกจากนี้มีคำสั่งให้องค์ปกครองส่วนท้อถิ่นทุกแห่งจัดตั้งกองอำนวยการ อำเภอและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งอำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม
ผู้ว่าเลย เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังน้ำโขงล้นตลิ่งในอำเภอเชียงคานกับอำเภอปากชม ที่อำเภอปากชม ระดับน้ำเนื่องจากอำเภอปากชมเป็นพื้นที่ต่ำ 3 ตำบล ที่น้ำโขงท่วมเข้ามา เป็นพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ มีบ้านเรือน 7 หลังคาเรือน ท่วมหนัก 1 หลังคาเรือนได้เคลื่อนย้ายสิ่งของออกมาอยู่บนที่สูง ในพื้นที่การเกษตร เกษตรจังหวัดได้ออกสำรวจความเสียหาย ส่วนอำเภอเชียงคาน มีผลกระทบ 4 ตำบล วันนี้น้ำโขงมีปริมาณ 16.35 เมตร เพิ่ม 0.5 เมตร ในจุดเฝ้าระวัง หรือจุดวิกฤต 16 เมตร ซึ่งในบางจุดระดับตลิ่งอยู่ที่ 19.19 เมตร จุดต่ำที่วิกฤติคือ 16 เมตร ซึ่งวันนี้มีน้ำโขงเอ่อล้น และ ดันเข้ามาในลำน้ำในตัวอำเภอเชียงคาน 4 ตำบล พื้นที่เกษตรเป็นส่วนใหญ่ มีโรงแรมที่พัก 2 แห่ง เป็นรีสอร์ท ติดลำน้ำโขง 2 แห่ง ท่วมเต็มพื้นที่ โดยให้เคลื่อนย้ายสิ่งของผู้ประกอบการออกมาอยู่ในที่สูง เพื่อความปลอดภัย ทั้งสองอำเภอเกิดเหตุการณ์ 7 ตำบล 18 หมู่บ้าน เสียหาย 7 หลังคาเรือน ประชาชนเดือดร้อน 21 คน
นอกจากนี้จังหวัดเลยได้ตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในระดับ อำเภอและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งอำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม มีการจัดการเครื่องมือ โดย มทบ.28 และหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 23 (นพค.23) เครื่องมือเตรียมพร้อมช่วยเหลือ ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อำเภอเชียงคาน อำเภอปากชม มีรถยกสูง เรือ กระสอบทราย เพื่อเตรียมการถ้าหากต้องการขอใช้ ส่วนที่องค์กรปกครองท้องเถิ่นต่างๆ มีศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ถ้าหากเกินศักยภาพ ให้แจ้งมาที่ศูนย์บัญชาการอำเภอทันที สำหรับการบริหารจัดการน้ำในตัวเมืองเลยทั้งหมด สายน้ำสำคัญคือ แม่น้ำเลย แม่น้ำสาขาทุกสาย จะไหลลงแม่น้ำเลย ในช่วงนี้น้ำไม่ว่าจะเป็นภูหลวง พื้นที่ตอนบน ที่อำเภอวังสะพุงมีฝนตก กรมอุตุฯพยากรณ์ไว้ ระหว่างวันที่ 14-17 ก.ย. เราก็เฝ้าระวังตรงนี้ อำเภอเมืองซึ่งเป็นที่รับน้ำจากอำเภอภูหลวง กับ อำเภอวังสะพุง ก่อนไหลมาลงมาที่อำเภอเชียงคาน การบริหารจัดการน้ำในเมืองเลย จังหวัดได้เตรียมการเฝ้าระวังงก่อนเข้าสู่ฤดูฝนประมาณ 2 เดือน ไม่ว่าการขุดลอกทางน้ำ ขุดแก้มลิง รวมถึงการพร่องน้ำ พร้อมจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำ
ทั้งระยะใกล้ ระยะไกล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หากเกิดวิกฤตจุดไหน เราจะไปวางเครื่องสูบน้ำลองทดสอบ ใช้ได้ดี ในแต่ละจุด
ส่วนเส้นทางใหญ่ที่น้ำจะลงสู่แม่น้ำโขงที่ประตูระบายน้ำศรีสองรัก วันนี้ประตูระบายน้ำศรีสองรักได้ช่วยระบายน้ำจากแม่น้ำเลย ได้เป็นอย่างดี ในยามปกติน้ำโขงต่ำกว่าแม่น้ำเลย จะยกประตูระบายน้ำทั้งหมด ทำให้น้ำเลยสามารถไหลลงน้ำโขงได้อย่างสะดวก หากเกิดวิกฤตน้ำโขงสูงกว่าระดับน้ำเลย ประตูระบายน้ำนี้ก็จะปิดทันที พร้อมให้กรมชลประทาน ขอรับการสนับสนุนติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบบไฮโดรโฟร เครื่องผลักดันน้ำ เสริมศักยภาพการระบายน้ำ มาติดตั้งไว้ที่ประตูระบายน้ำศรีสองรัก หากเกิดน้ำโขงสูงกว่าน้ำเลยเมื่อไร เราจะปิดประตูน้ำได้สูบน้ำออกไปสู่น้ำโขง นี้คือการบริหารจัดการน้ำที่ไม่สะดุดทำให้ปริมาณน้ำที่ฝนตกตลอดทั้งวัน มาแล้ว 2 วัน ได้ระบายน้ำเป็นอย่างดี