วันที่ 19 กันยายน 2567 ที่ห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษาการนายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม ร่วมประชุมทางไกล (Web Conference) เตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม มีนายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operation Center : EOC) จังหวัดนครพนม ร่วมประชุมทางไกล (Web Conference)
โดยมีนายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 8 เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข 1 (PHEOC-1) ชั้น 7 อาคาร 5 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขสำหรับวาระการประชุมในครั้งนี้ ได้มีการรายงานสถานการณ์ภาพรวมและการเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์ในสถานการณ์อุทกภัยให้ที่ประชุมทราบ รวมทั้ง รายงานสถานการณ์และการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดนครพนม หนองคาย สกลนคร บึงกาฬ จันทบุรี และจังหวัดตราด
ในส่วนของสถานการณ์และผลกระทบด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีอุทกภัย จังหวัดนครพนม ภาพรวมการบาดเจ็บ เสียชีวิต สูญหาย ยังไม่มี พื้นที่ได้รับผลกระทบมี 5 อำเภอ 14 ตำบล คือ อำเภอบ้านแพง 1 ตำบล ศรีสงคราม 3 ตำบล ท่าอุเทน 3 ตำบล นาหว้า 3 ตำบล และอำเภอเมืองนครพนม 4 ตำบล โรคและภัยสุขภาพที่พบจากการักษาสะสม พบป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 271 ราย อุจาระร่วงเฉียบพลัน 2 ราย อาหารเป็นพิษ 79 ราย เมลิออยโดซิส 7 ราย ไข้เลือดออก 36 ราย ไม่มีเหตุการณ์จมน้ำ-ไฟช็อต ทั้งนี้ ได้กำชับให้ทุกพื้นที่ติดแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ใกล้ชิด เฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม ออกให้คำแนะนำแก่ประชาชน ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบในชุมชน เตรียมความพร้อมยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอ รวมทั้งเตรียมทีมปฏิบัติการทางการแพทย์ พร้อมปฏิบัติการได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบหมายกลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด นำทีมช่วยเหลือเยียวยำจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (Mental Health Crisis Assessment and. Treatment Team: MCATT) ปฏิบัติภารกิจลงพื้นที่โดยมีนายแพทย์จุมภฎ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และนายแพทย์โกศล วราอัศวปติ โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ นายแพทย์วรกาล ธิปกะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสงคราม พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ทีม MCATT และ อสม. ร่วมลงพื้นที่ให้ดูแลประชาชนในพื้นที่อำเภอเมือง 8 ราย ท่าอุเทน 2 ราย บ้านแพง 18 ราย และอำเภอศรีสงคราม 60 ราย รวมทั้งสิ้น 88 ราย โดยได้ช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ มอบถุงยังชีพ และยารักษาโรค ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม พร้อมเยี่ยมเสริมพลังสำหรับผู้ป่วย ญาติและประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ การให้คำแนะนำการปฐมพยาบาลทางใจ รวมทั้งพูดคุยให้กำลังใจเพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล ทั้งยังประสานทีม MCATT ในพื้นที่ติดตามดูแลหลังจากนี้ 2 สัปดาห์