กรรมาธิการการเงินการคลังฯ สภาผู้แทนราษฎร ติวเข้มผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดทำ และบริหารงบประมาณรายจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ศูนย์ประชุมโรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด คณะ กรรมาธิการการเงิน การคลังและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดโครงการสัมนาให้ความรู้แนวทางการจัดทำ และบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปี แก่ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล เพื่อให้คณะรู้ช่องทางวิธิการของบประมาณ และการเข้าถึงแหล่งงบประมาณต่างๆ
แต่เนื่องจากมีผู้บริหาร สมาชิกบางท่าน หรือหลายท่าน ไม่มีพื้นฐานเรื่องการการจ่ายงบประมาณมาก่อน ทางคณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นว่าเพื่อให้การทำงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการรุดหน้าไปตามแบบแผน ตามนโยบาย ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนปากท้องของพี่น้องประชาชน
จึงได้เชิญ นายกเทศมนตรี นายก อบต.รองนายก สท. ส.อบต. ที่ปรึกษาฯ เลขาฯ ปลัด อบต. และปลัดเทศบาล มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมรับฟังปัญหาและอุปสรรคในท้องถิ่นของแต่ละแห่ง ว่ามีปัญหาอะไร อย่างไร โดยได้เชิญวิทยากรจากกรมส่งเสริมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มาให้ความรู้แนวทางการปฏิบัติ และมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ดูแลเรื่องยุทธศาสตร์ของจังหวัดมาร่วมรับฟัง อย่างน้อยก็ให้ผู้ร่วมประชุมรู้ว่า ยุทธศาสตร์ของจังหวัดมีแนวทางอย่างไร ท้องถิ่นรู้แนวทางในการพัฒนาจังหวัดอย่างไร ไม่ใช่รู้เฉพาะตำบลของตัวเอง แต่ไม่รู้แผนโดยภาพรวมของอำเภอ และจังหวัด ว่าจะมีการขับเคลื่อนไปในทางใด สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ และรองรับการแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนต่อไปอย่างไร คาดว่าพี่น้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนหนึ่ง ได้ต่อยอดองค์ความรู้ของตนเอง ส่วนหนึ่งก็ได้รับข้อมูลใหม่ๆเพื่อนำกลับไป ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น แก่พี่น้องประชาชน เป็นการทำความเข้าใจอย่างพร้อมเพียงกัน
สำหรับครั้งนี้มีผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น มาร่วมจาก 4 อำเภอประกอบด้วยอำเภอโพธิ์ชัย จังหาร เชียงขวัญ และอำเภอธวัชบุรี ซึ่งทั้ง 4 อำเภอนี้ถือเป็นอำเภอนำร่อง ในการสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารท้องถิ่น อีกทั้งทางจังหวัด เห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนมาก เตรียมผลักดันให้มีการจัดอบรมฯขึ้นตามอำเภออื่นๆทั่วทั้งจังหวัดต่อไป
การที่ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในการของบประมาณ จะส่งผลกระทบต่อระบบการบริหารงานอย่างไรบ้างก็อย่างที่ทราบกันนั่นแหล่ะว่าบางส่วนมีความรู้ มีความคุ้นเคยและมีประสบการณ์ เกี่ยวกับเรื่องการจับสรรงบประมาณการของบประมาณ ส่วนหนึ่งมีผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากสภาท้องถิ่น เคยเป็นสมาชิกสภาเทศบาลสภา อบต.และเปลี่ยนมาเป็นผู้บริหาร หรือเป็นนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท่านเหล่านี้จะมีความคุ้นเคย และเชื่อมโยงอยู่กับเรื่องงบประมาณ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่ เพิ่งสมัครและได้รับการเลือกตั้งเข้ามา กลุ่มนี้จะมีปัญหา และอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่น ซึ่งทุกคนจะต้องใช้ความรู้ความสามารถ เพราะลำพังงบประมาณที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งได้รับก็แทบจะไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่นอยู่แล้ว เงินเดือนของบุคลากร และค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคต่างๆก็แทบจะไม่เหลือ หรือเหลือแห่งละไม่กี่ล้านการจะพัฒนาท้องถิ่นแต่ละแห่งจึงเป็นไปได้ยาก
ฉะนั้นนายก หรือผู้บรืหารท้องถิ่นจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการแสวงหางบประมาณจากภายนอก เช่นการของบประมาณจากหน่วยงานอื่น เช่น จากชลประทาน จากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จากการไฟฟ้า ทางหลวงชนบท เป็นต้น นายกหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีความรู้มีประสบการณ์ ในการติดต่อประสานงาน สามารถทำความเข้าใจแก่สมาชิก และประชาชนได้
ผมจึงบอกเสมอว่าเวลาที่ทางอำเภอ หรือทางจังหวัดเชิญร่วมประชุม โดยเฉพาะเรื่องนโยบายต่างๆ ส่วนใหญ่นายกฯหลายคนไม่ค่อยไปร่วมประชุม มีแต่ส่งตัวแทนเข้าไปร่วมประชุม ซึ่งการประชุมแต่ละครั้งทางอำเภอหรือจังหวัด อาจจะมีวาระหรือนโยบายสำคัญจากส่วนกลางเพื่อแจ้งให้ทราบ และให้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง บางครั้งคนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมอาจไม่สนใจ หรือรับข้อมูลมาแล้วไปสื่อสารไม่ตรงประเด็นหรือไม่ถูกต้อง การแก้ไขปัญหาต่างๆจึงเป็นไปได้ยาก
นายบุญสรวง พุฒิพัฒน์พาณิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดผยว่า ฝ่ายบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภา หรือว่าเจ้าหน้าที่ต้องรู้ว่า ตนเองจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากไหนได้บ้าง ใครเป็นเจ้าของงบประมาณ หากรู้และข้าใจวิธีการจะทำให้มีโอกาสได้รับงบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นได้เต็มที่ บางแห่งไม่รู้ บางแห่งรู้ขั้นตอน แต่ว่าเจ้าหน้าที่อาจไม่มีความพร้อม ไม่ได้มีแบบแผนในการพัฒนา ดังนั้นการมาบรรยายในวันนี้จึงเป็นการกระต้นให้ผู้บริหาร สมาชิกไปซักซ้อมคนของตนเองให้เตรียมความพร้อมเรื่องแผนงานกระบวนการต่างๆในการของบประมาณ เพราะหากไม่รู้ขั้นตอนหรือช่องทางการขอรับงบสนับสนุนอาจไม่ได้รับงบประมาณเลย อันจะส่งผลให้ ท้องถิ่นไม่ได้รับการพัฒนาประชาชนเสียโอกาส เป็นต้น