นครพนม สวทช. จับมือ นพค.22 อ.นาแก และหน่วยงานเกษตร นำร่องปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ เปิดตัวสายพันธุ์ หอมนาคา ปลอดสารพิษ ยกระดับผลผลิตข้าวเหนียว เชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมอีสานลุ่มน้ำโขง เพิ่มมูลค่าข้าวเหนียว สร้างรายได้เกษตรกร เปิดแปลงสาธิตปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์หอมนาคา เตรียมขยายสู่ชุมชนท้องถิ่น เพิ่มมูลค่า
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ที่หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก จ.นครพนม นายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย พ.อ.สัณทัศน์ ชำนาญเวช ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก นายสัตวแพย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง ประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา เลขานุการคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สาขาเกษตร นางสาวไพรวัลย์ ปัชชามาตร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกษตร ตลอดจนหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมเปิดโครงการ การยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เป็นการนำร่องในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน คือ จ.นครพนม จ.อุดรธานี จ.ลำปาง และ จ.เชียงราย เพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ ชื่อ หอมนาคา โดยได้รับการพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ หน่วยงานเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ท้องถิ่น กข.6 กับ ข้าวเจ้าต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง คัดสายพันธุ์มาเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ หอมนาคา เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตข้าวเหนียวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเกษตรกรลุ่มน้ำโขง ให้มีคุณภาพ และได้ปริมาณผลผลิตมากขึ้น จากเดิม พร้อมส่งเสริมช่องทางการตลาด เพิ่มรายได้ให้กับเกษตร ทั้งนี้ได้นำร่องทำแปลงสาธิต ในพื้นที่ หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 22 อ.นาแก จ.นครพนม เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรได้ศึกษา การปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์ หอมนาคา ปลอดสารพิษ และมีการขยายการเพาะปลูกไปสู่ชุมชน ต่างๆ ในพื้นที่ จ.นครพนม เพิ่มมูลค่า ยกระดับคุณภาพการผลิตข้าวเหนียว สร้างรายได้ สร้างอาชีพยั่งยืน แก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
สำหรับพื้นที่ จ.นครพนม มีพื้นที่การเกษตร รวม ประมาณ กว่า 2 ล้านไร่ พืชเศรษฐกิจอันดับ 1 คือ ข้าวนาปี มีพื้นที่ปลูกมากกกว่า 1.4 ล้านไร่ เป็นข้าวเจ้า ประมาณ 8 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 55 และข้าวเหนียว มีพื้นที่ปลูกประมาณ 6.6 แสนไร่ คิดเป็นร้อยละ 45 โดยการ เปิดโครงการ การยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง จะเป็นการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวเหนียวในอนาคต เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้แก่ประชาชนมากขึ้น เนื่องจาก ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่ หอมนาคา จะสามารถให้ผลิตสูง ไร่ละประมาณ 1.2 ตัน ส่วนเรื่องราคา ใกล้เคียงกับสายพันธุ์ ข้าวเหนียว กข.6 แต่มีจุดเด่นคือให้ ผลผลิตในปริมาณที่มากกกว่า นอกจากนี้ทางหน่วยงานเกี่ยวข้องจะได้ วางแนวทางในการแปรรูป สร้างแพคเกจ สร้างมูลค่าด้านการตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่ง จ.นครพนม ถือเป็น 1 ใน 4 จังหวัด ที่ได้รับการสนับสนุนนำร่องเพาะปลูก