ข่าวสังคม

ขอนแก่น กรมทรัพยากรณี มั่นใจ “ไดโนเสาร์ขอนแก่น” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแน่ใน 2 ปี เหลือปรับแก้ตามข้อแนะนำนิดหน่อย เชื่อไดโนเสาร์ไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์แน่นอน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 ก.พ. 2567 ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เป็นประธานเปิดการประชุมธรณีวิทยาระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 18 “ The 18 th Regional Geoscience Conference of Southeast Asia : GEOSEA 2024” ซึ่งกรมทรัพยากรณีธรณี กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมธรณีอาเซียน ได้กำหนดจัดการประชุมขึ้นโดยมี ผู้บริหารฯนักวิชาการ และสมาชิกสมาคมธรณีวิทยาจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมประชุมกว่า 250 คน

นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า การประชุมจะเน้นถึงโอกาสที่เราจะใช้โครงสร้างทางธรณี ในเรื่องการเตือนภัยทางภัยพิบัติ เรื่องการพบซากไดโนเสาร์ ที่มีความสมบูรณ์ในระดับต้นๆของโลกในประเทศไทยรวมทั้งการใช้โอกาสทางทรัพยากรแร่ต่างๆในการช่วยในการพัฒนาประเทศ เพิ่มยุทธศาสตร์ในการแข่งขันและการส่งเสริมในการลงทุนในภูมิภาคทั้งโลกไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย ปัจจุบันอุตสาหกรรมเกี่ยวกับพลังงาน เพื่อลดภาวะโลกร้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ต่างชาติให้ความสนใจที่มาดูในการผลิตรถอีวี

“ ตอนนี้เราก็มีการพบซากไดโนเสาร์ในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่พบซากสมบูรณ์และมีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นเราพบถึง 10 สายพันธุ์ก็เป็นโชคดีที่ชาวขอนแก่น จะได้ช่วยกันต่อยอดในการส่งเสริม องค์ความรู้และด้านการท่องเที่ยวจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนด้วย เราจะได้เอาโอกาสที่ทรัพยากรธรณีที่เราพบมาต่อยอดในการพัฒนาส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาโอกาสด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งการใช้สิ่งที่เราเรียกว่าซอฟเพาเวอร์ เป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทุกระบบตั้งแต่ฐานรากจนถึงองค์รวมของขอนแก่นและของประเทศต่อไปและการที่อุทยานธรณีวิทยาขอนแก่น ได้เสนอตัวต่อการเป็นพื้นที่มรดกโลกของยูเนสโก ซึ่งคณะกรรมการได้เพิ่มเติมประเด็นเรื่องวัฒนธรรมและการเชื่อโยงกับชุมชนเข้ามา โดยคณะทำงานได้เร่งดำเนินการตามคำแนะนำของยูเนสโกแล้ว จึงคาดว่าพิพิธภัณฑ์ไดโดนเสาร์ และอุทยานธรณีวิทยาของขอนแก่นจะผ่านการประเมินและได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกของยูเนสโก ได้ในอีก 2 ปีต่อจากนี้”

ขณะที่ นายกนก อินทรวิจิตร นายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุม จะเน้นถึงบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาโลกที่เราอาศัยอยู่ โดยเป้าหมายของวิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยา คือการเข้าใจไม่เพียงโลกเท่านั้นแต่ยังรวมถึงสถานที่ของเราด้วย การศึกษา, การค้นคว้า, และการค้นพบของเรามีผลกระทบต่อสังคมมาก ตั้งแต่การคาดการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงการออกแบบวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของเราที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“เป้าหมายในการจัดการประชุมครั้งนี้คือการทำความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ และความต้องการของสังคม โดยเน้นถึงวิธีการที่การวิจัยด้านธรณีวิทยาสามารถช่วยชุมชนทั่วโลก ดินแดนไดโนเสาร์สัญจร โดยจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียง. เป็นที่ทราบกันดีว่าซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จูราสสิค-ครีเทเชียส มีความหลากหลายอย่างกว้างขวางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย”