ข่าวสังคม

บวชนาคช้างสุดยิ่งใหญ่อลังการตระการ

อบจ.สุรินทร์ ร่วมกับ จ.สุรินทร์ อ.ท่าตูม, ททท. (สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์), วัฒนธรรม จ.สุรินทร์, อบต.กระโพ, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดประเพณีบวชนาคช้างครั้งที่18 ประจำปี 2566 มีนาคผู้บวชจำนวย 15 องค์

ประเพณีบวชนาคช้าง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ชาวสุรินทร์ทั้งเขมร ลาว กวย ที่นับถือพุทธศาสนา เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาสมัยบรรพบุรุษ เมื่อลูกชายอายุครบ 20 ปี ก่อนที่จะมีเหย่าเรือน พ่อแม่ต้องบวชให้ลูกชายเพื่อศึกษาธรรมวินัยเสียก่อน เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ เพราะชายหนุ่มในละแวกเดียวกันจะนัดวันบวชพร้อมกันและแห่นาคด้วยช้างไปยังวังทะลุริมแม่น้ำมูล เพื่อทำพิธีไหว้ศาลปู่ตาขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านนับถือ พร้อมประกอบพิธีอุปสมบทบริเวณ “ดอนบวช” ซึ่งเป็นเนินดินกลางแม่น้ำที่เกิดจากการที่ลำน้ำชีไหลมมาบรรจบกับลำน้ำมูลทำให้เกิดเนินดินกลางแม่น้ำ ชาวบ้านจะเรียกว่า“สิมน้ำ” หรือเรียกว่า “ดอนบวช”จนกระทั้งถึงปัจจุบัน ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 2- 4 พ.ค. 2566 มีขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่สวยงามตะการตา ถึง 4 ขบวน คือ ขบวน ประเพณีบวชนาคช้าง, ขบวนบารมีคุ้มเกล้าชาวประชา, ขบวนวิถีชาวพุทธสืบพระศาสนา และ ขบวนถือตะกร้านุ่งผ้าไหมไปทำบุญ

โดยในวันที่ 1 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า จ.สุรินทร์ โดยนายพรชัย มุ่งเจริญพร นายยกอบจ.สุรินทร์ ได้จัดงานประเพณี “บวชนาคช้าง” ประจำปี 2566 ครั้งที่ 18 ตรงกับวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือนหก ของทุกปี ที่ จ.สุรินทร์ร่วมกับอบจ.สุรินทร์ อ.ท่าตูม ททท.สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์, วัฒนธรรม จ.สุรินทร์, อบต.กระโพ, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดประเพณีบวชนาคช้างครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 มีนาคผู้บวชจำนวย 15 องค์ ชมขบวนแห่นาคช้างที่สวยงามยิ่งใหญ่ตะกานตา 4 ขบวนแห่ คือ ขบวน ประเพณีบวชนาคช้าง, ขบวนบารมีคุ้มเกล้าชาวประชา, ขบวนวิถีชาวพุทธสืบพระศาสนา และ ขบวนถือตะกร้านุ่งผ้าไหมไปทำบุญ งานนี้จัดขึ้น 3 วัน คือวันที่ 2 ถึงวันที่ 4 พ.ค. 2566

นายพรชัย มุ่งเจริญพร นายก อบจ. สุรินทร์ บอกถึงงานนี้ว่า ทาง อบจ.สุรินทร์ ได้ร่วมกันกับ จ.สุรินทร์ อ.ท่าตูม, ททท. สำนักงานการท่องเที่ยว, วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์, อบต.กระโพ, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดประเพณีบวชนาคช้างครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 ซึ่งมีนาคผู้บวชจำนวน 15 องค์ ทาง อบจ.สุรินทร์เล็งเห็นว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของ จ.สุรินทร์ ทีมีเอกลักษณ์ทางวัฒนาธรรมที่สามารถสื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้าง สมควรให้ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาส่งเสริมให้อยู่คู่กับวิถีการดำรงค์ชีวิตของชาวสุรินทร์ตลอดไป เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักงานประเพณี “บวชนาคช้าง” เป็นอีกงานหนึ่งของ จ.สุรินทร์ อีกด้วย พร้อมกับขอเชิญประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเที่ยวชมงาน “บวชนาคช้าง”ในครั้งนีต่อไป