ข่าวเศรษฐกิจ

อำนาจเจริญ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขยายผล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานตอนล่าง”

วันที่ 12 มีนาคม 2567 ว่าที่พันตรี อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ และนายเสนีย์ ส้มเขียวหวาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เดินทางไปร่วมพิธีในงานด้วย ณ ไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม 189 หมู่ที่ 5 ตำบลหนองเม็ก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ในโครงการ 76จังหวัด 76โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภายใต้หลักการ”นวัฒกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” โดยนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า กรมวิชาการเกษตร ขยายผล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดลภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง”จากการผลิตผักอินทรีย์มูลค่าสูง สร้างรายได้ด้วยการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มูลค่าการผลิตกว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปี

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำ โครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อเป็นการถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูงจากเกษตรกรต้นแบบ 76 จังหวัดทั่วประเทศ สอดรับกับหลักการ ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตรต้องมีมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรต้องยั่งยืน ตามนโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นโมเดลที่ชนะเลิศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่ทำการคัดเลือกจากเกษตรกร 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้แนวทางตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้โดยมีโมเดลที่ชนะเลิศคือ “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ของคุณศุภชัย มิ่งขวัญ ไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม บ้านหนองเม็ก ตำบลคึมใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีมูลค่าการผลิตกว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปีไร่ภูมิตะวันออร์แกนิคฟาร์ม เป็นการจัดการโดยใช้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” โดยทำการเกษตรแบบรวมกลุ่มแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้มีอำนาจต่อรอง และที่สำคัญได้ให้สมาขิกในกลุ่ม ได้ปรับเปลี่ยนวิธีคิด จากการผลิตแบบพอเพียงมาทำการผลิตเชิงพาณิชย์ จากอาชีพรองมาเป็นอาชีพหลัก เข้าถึง และยอมรับนวัตกรรมสมัยใหม่ โดยทำการผลิตพืชผักตระกูลสลัดแบบประณีตที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ จำหน่ายทั้งในรูปแบบผักสด และเมล็ดพันธุ์ผักภายในโรงเรือน ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน เตรียมพืช การจัดการธาตุอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของพืช การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีจนสามารถขายผักอินทรีย์ และเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพสูง โดยทางคุณศุภชัย ได้มีการนำความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์เกษตร มาปรับปรุงพันธุ์ผัก อาทิ ผักสลัดกรีนครอส เรดครอส เมเลน และได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ในระบบโรงเรือนอินทรีย์ตามแนวคิด “ทำเกษตรด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แปลงผลิตได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และตั้งราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แบบเกษตรกรเข้าถึงได้” จนสามารถสร้างรายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูงในราคากิโลกรัมละ 30,000 บาท

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชเข้ามาบริการแบบเบ็ดเสร็จด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ พัฒนาเข้าสู่ระบบเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ อาทิ การขึ้นทะเบียนพันธุ์ การรับรองสายพันธุ์ รับรองแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มูลค่าสูง การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยการเคลือบ และพอกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นการช่วยในปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการศัตรูพืช โดยการใช้ชีวภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ใช้ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis (BT) ในการจัดการหนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ในการจัดการด้วงหมัดผัก ใช้ชีวภัณฑ์บิวเวอร์เรีย หรือเมตาไรเซียมเชี้อสด ในการจัดการเพลี้ยอ่อน การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการรองก้นหลุมป้องกันโรครากปม และใช้ชีวภัณฑืไตรโคเดอร์มา จัดการโรครากเน่าโคนเน่า ทำให้เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ จนสามารถขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียง ครอบลุมพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 105 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 400 ไร่ มีโรงเรือนปลูกผักทั้งหมด จำนวน 305โรงเรือน ผลผลิตผักอินทรีย์ออกสู่ตลาดเฉลี่ย 25 – 30 ตันต่อเดือนสำหรับกิจกรรมภายในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล ประกอบด้วย แปลงสาธิตนิทรรศการแปลงต้นแบบระดับเขต และระดับจังหวัด จำนวน 9 ต้นแบบ กิจกรรมการเสวนาระหว่างผู้ผลิตและตลาดรับซื้อ เรื่อง “ไขความลับการผลิตพืชมูลค่าสูงสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ฐานการเรียนรู้ โมเดลการผลิตผักอินทรีย์มูลค่าสูง จำนวน 4 ฐาน หน่วยบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ นิทรรศการกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ การผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช การผลิตพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand/GAP การให้ความรู้ด้านพรบ. ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร และการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม การรู้จักดินรู้จักปุ๋ยกิจกรรม ชิม ช้อป ชม ผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเกษตรกรต้นแบบและกลุ่ม young smart farmer และกิจกรรมแจกจ่ายพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ เกษตรกร ประชาชน ข้าราชการ พนักงาน บุคลากรภาครัฐและนักเรียน นักศึกษา จำนวน 300 รายอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลในเชิงประจักษ์ให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรสร้างอาชีพ และรายได้จากการทำเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง และต่อยอดการผลิตผักเพื่อบริโภคสู่การเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้สูง และความมั่นคงยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป