ข่าวเศรษฐกิจ

มหาสารคาม อากาศร้อนจัดทะลุ 40 องศา แล้งส่งผลให้ผู้เลี้ยงปลากระชังริมฝั่งแม่น้ำชีน๊อกน้ำตายเกลื่อน10ตันขาดทุนหลายล้านบาทขณะที่ประมงอำเภอลงพื้นที่เร่งสำรวจให้ความช่วยเหลือพร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร งดเลี้ยงปลากระชังหาหากยังเลี้ยงอยู่ให้เร่งออกขายก่อนที่เสี่ยงขาดทุน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังตามลำน้ำชีในพื้น บ้านกอกหนงบัว ต.หนองบัว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคามเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงไว้ในกระชังทยอยตายแล้วกว่า 10 ตันมูลค่าความเสียหายหลายล้านบาทค่าสาเหตุเกิดจากอากาศร้อนน้ำในแม่น้ำชีมีน้อยและค่าออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ เกษตรกรเร่งน้ำนำปลาตายที่น๊อกน้ำเนื่องจากขขาดออกซิจน ขึ้นจากแพประชังขึ้นบนฝั่งโดยใช้ลอกนำปลามากองไว้เร่งนำมาทำปลาร้า

นางสาววุฒินี ภู่ระย้า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง บ้านกอก ตำบลหนองบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า ตนเองเลี้ยงปลากระชังไว้ทั้งหมด 30 กระชังรวมของผู้เลี้ยงคนอื่นๆในละแวกนี้รวมแล้วก็กว่า 100 กระชัง โดยปลาเริ่มทยอยตายตั้งแต่เมื่อวานนี้ทำให้ต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันเอาปลาขึ้นจากน้ำซึ่งปลาที่ลอยขึ้นมาแล้วไม่สามารถขายได้ต้องตัดหัว ขอดเกล็ดควักไส้ ทำความสะอาด โรยเกลือ ทำเป็นปลาร้าเท่านั้น ส่วนปลาที่ยังพอขายได้จากเดิมหากได้จับขายตอนนี้ราคารับซื้อจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 63-65 บาทแต่ก็ต้องจำใจขายไปกิโลกรัมละเพียง 10 บาทเท่านั้น ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ได้อะไรเลย เพราะปลาก็ทยอยตายอย่างต่อเนื่อง

เบื้องต้นทางผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต.หนองบัว และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ได้รับผลกระทบได้เดินทางไปที่ฝายมหาสารคาม เพื่อขอให้ทางฝายเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อให้มีน้ำไหล ปลามีออกซิเจนในน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยทางฝายมหาสารคามแจ้งว่า จะเปิดประตูระบายน้ำให้ 5 ซม. แต่ช่วงเย็นก็จะปิดเหมือนเดิม แต่ชาวบ้านอยากให้เปิดตลอดเพราะกว่าน้ำจะมาถึงปลาก็จะยิ่งตายไปเรื่อย ๆ สร้างผลกระทบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ผู้เลี้ยงปลากระชังตลอดลำน้ำชีในพื้นที่ท้ายน้ำอย่างอำเภอกันทรวิชัยและอำเภอเมืองมหาสารคามก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ทั้งนี้ ตนเองลงทุนทั้งค่าอาหารและพันธุ์ปลารวมแล้วกว่า 800,000 บาท ปลากำลังจะจับขายได้ในอีก 1-2 วันนี้แต่ยังไม่ทันได้จับขายก็มาตายเสียก่อนหากจะนับมูลค่าความเสียหายเฉพาะบริเวณนี้หากเสียหายทั้งหมด มีกระชังปลาประมาณ 100 กระชัง แต่ละกระชังลงปลา 600-800 ตัวน้ำหนักที่จะได้ต่อ 1 กระชังจะเท่ากับประมาณ 500-700 กิโลกรัม หากจับขายกิโลกรัมละ 63 บาท จะได้เป็นเงิน 31,500- 44,100 บาทต่อ 1 กระชังบริเวณนี้เลี้ยงปลาประมาณ 100 กระชังมูลค่าความเสียหายจะอยู่ที่ 3,150,000-4,410,000 บาท

ตอนนี้ทุกคนต้องช่วยเหลือตนเอง อย่างกระชังของตนก็ต้องติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ ต่อท่อ PVC เจาะรู ปั๊มน้ำส่งขึ้นไปตามท่อ พร้อมๆกับแล่นเรือเล็กบริเวณกระชัง เพื่อให้เกิดคลื่นใต้น้ำ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำและภาวนาขออย่าให้ปลาตายไปมากกว่านี้
ด้านนายยงยุทธ สุดมี หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัด กล่าวว่า ภายหลังจากได้รับแจ้งจากชาวบ้านก็ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ตอนนี้เท่าที่สำรวจมี 2 เจ้าสาเหตุที่ปลาตายคาดว่าเกิดจากปริมาณน้ำน้อย การเคลื่อนไหวของน้ำไม่มี ค่าออกซิเจนในน้ำน้อย พอตกกลางคืนออกซิเจนก็จะยิ่งน้อยลงจึงทำให้ปลาทยอยตายอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้สำรวจว่าแต่ละกระชัง มูลค่าความเสียหายเท่าไหร่ จากนั้นก็จะได้แจ้งไปยังประมงจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบดีกรมประมง เพื่อดำเนินช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

โดยขอแจ้งเตือนไปยังผู้เลี้ยงปลากระชังในพื้นที่ท้ายน้ำ ในเขตพื้นที่อำเภอกันทรวิชัยและอำเภอเมืองมหาสารคามให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ให้รีบขายปลาออกก่อนที่จะน๊อกตายหมด