ข่าวการศึกษา

“มข.” เปิดแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร ยกระดับเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตรถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศของการวิจัย

ที่ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI)มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืช โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,นายสุรพล เพชรวรา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิฯ ,ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ,รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการฯ ,ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล, รศ.เพียรศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่า ,รศ.ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานและน้ำ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น คณะนักวิจัย แขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน และสื่อมวลชน ที่สนใจร่วมทำข่าวในครั้งนี้

ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า รู้สึกยินดีและขอชื่นชมฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ที่ได้ดำเนินการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ ขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศของการวิจัย (Research Ecosystem) พัฒนาแพลตฟอร์มการบริการด้านการวิจัย รวมถึงการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม (Research Total Solution) ซึ่งการยกระดับหรือเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของพืชพื้นถิ่นและสมุนไพรมากขึ้น

ดร.ณรงค์ชัย กล่าวอีกว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการวิจัยที่มากกว่าการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน beyond Publication) และส่งเสริมความก้าวหน้าด้านการวิจัยที่มีผลงานดีเด่นตลอดจนการดำเนินการวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ จึงได้พัฒนาแเพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชขึ้น เพื่อใช้ในแปรรูปผลิตสารตั้งต้น ingredient ต่างๆ จากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการผลิตหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป และเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มีเครื่องจักร เครื่องมือเป็นของตนเอง

ด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ตามที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย โดยปรับเปลี่ยนจากการทำวิจัยตามความสนใจของนักวิจัย (Supply side) เป็นการทำวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้งานหรือตามปัญหาของประเทศ (Demand side) เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ใหญ่ที่มีผลกระทบ (Impact) สูงได้ โดยเฉพาะอย่างการสนับสนุนเกิดโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่ทำงานเป็นทีมและทำงานต่อเนื่อง (Research programs/Clusters) และการสร้างระบบนิเวศของการวิจัย (Research Ecosystem) จากแนวนโยบายและกลยุทธ์ดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อรองรับการบริการด้านการวิจัยให้ครอบคลุมทุกศาสตร์สาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมBCG Model นี้สำคัญอย่างมาก และเพื่อให้เกิดความร่วมมือการทำงานวิจัยด้านแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผักพื้นบ้านสมุนไพรพื้นถิ่น และปศุสัตว์พื้นเมือง ที่ต่อเนื่องและเกิดผลกระทบสูง จึงได้กำหนดให้มีพิธีเปิดแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืช ในวันนี้ขึ้น

ส่วน ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารงานประเด็นยุทธศาสตร์ที่ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย(Research Transformation) และเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความร่วมมือการทำงานวิจัยร่วมกัน จึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยความมั่นคงทางด้านอาหาร พลังงานและน้ำ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (FEWs) ดำเนินการ ทำข้อเสนอโครงการและพัฒนาแพลตฟอร์มการแปรสภาพวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืช ภายใต้แนวคิดเพื่อรับบริการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ผักพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นถิ่นและปศุสัตว์พื้นเมือง และเป็นการบริการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสารตั้งต้นหรือส่วนผสมในอาหาร ฟังก์ชั่น (Functional Food)เวชสำอางต่าง ๆ

เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มนี้เป็นผลิตทางการเกษตรอินทรีย์ หากมีกระบวนการแปรรูป จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ จนถึงเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตแก่ผลผลิตทางการเกษตร ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของพืชพื้นถิ่นและสมุนไพรมากขึ้น จึงได้พัฒนาโครงการวิจัย นี้โดยมีวัตถุประสงค์ในการ ออกแบบและสร้างอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปผลิตสารตั้งต้น ingredient ต่างๆจากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการผลิตหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป จนเป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบที่มีขนาดใหญ่ และครบด้วยเครื่องมือในการแปรรูปและผลิตสารสกัดจากผลผลิตทางการเกษตร พีชพื้นถิ่น และสมุนไพรให้ได้ตรงตามมาตรฐาน อย.และระดับสากลต่อไปได้