ข่าวการศึกษา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มข. จัดสัมมนาวิชาการ ด้านวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ The turning point of soft power จุดเปลี่ยนของ ศิลปะ วัฒนธรรม พลังขับเคลื่อนซอฟท์เพาเวอร์ไทยสู่สายตาโลก

มื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดงาน สัมมนาวิชาการ ด้านวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ The turning point of soft power โอกาส และ จุดเปลี่ยนของ “ศิลปะ วัฒนธรรม พลังขับเคลื่อนซอฟท์เพาเวอร์ไทยสู่สายตาโลก โดยมี รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นายประชาธิป มากมูล หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วยผู้บริหาร ศิลปิน คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมงานสัมมนา

ศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ เปล่งดีสกุล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การให้นิยามคำว่าซอฟต์พาวเวอร์ คืออะไร โดยส่วนตัวนั้น การนิยามคำว่าซอฟต์พาวเวอร์ยังไม่สำคัญเท่ากับการผลักดันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เกิดแรงเคลื่อนแบบองคาพยพ เพื่อให้ส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ โดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมเศรษฐกิจควบคู่กับส่งเสริมพลังอำนาจของศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายทางด้านวัฒนธรรม เกิดการคล้อยตามและแพร่หลายโดยไม่ต้องบีบบังคับ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากมายต่อวัฒนธรรมและประเทศเหล่านั้นตามมา และที่สำคัญยังต้องอาศัยการลงมือปฏิบัติต่อเนื่องในระยะยาว ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เชื่อมั่นว่าการสัมมนาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานทุกท่าน ทั้งต่อตนเอง และหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยทุนทางด้านวัฒนธรรม ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

“การจัดกิจกรรมการสัมมนา หัวข้อ “ศิลปะ วัฒนธรรม : พลังขับเคลื่อนซอฟท์เพาเวอร์ไทยสู่สายตาโลก” หรือ “The turning point of soft power: Thai Art and Culture / Art: The driving force of Thai Soft Power” จากนโยบาย THACCA ซึ่งให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกลุ่มสร้างสรรค์ 4 บวก 1 กลุ่ม คือ 1) ศิลปะร่วมสมัยไทย 2) ภาพยนตร์ไทย 3) งานออกแบบ 4) แฟชั่น และบวก 1) เทศกาล จาก 11 กลุ่มอุตสาหกรรม นโยบายเพื่อซอฟต์พาวเวอร์ไทย นโยบาย ซึ่งกำลังจะเป็นเสมือนสายน้ำทิพย์ที่ชุบชีวิตวงการศิลปะ และวัฒนธรรมจากรากฐานภูมิปัญญาไทยให้กลับมามีชีวิตชีวาในปี 2024 ในฐานะกลไกสำคัญที่จะเสริมเศรษฐกิจไทยสู่ระดับโลก จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการศิลปะ ภาพยนตร์ งานออกแบบ แฟชั่น และเทศกาลระดับนานาชาติ เพื่อเปิดมุมมองเกี่ยวกับ จุดหมุนของกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 4 บวก 1 กลุ่ม ว่ามีอิทธิพล และส่งผลต่อวิถีชีวิตคนไทยในระดับครอบครัวตามแนวทาง OFOSP หรือ One Family One Soft Power (นโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power)”

นายประชาธิป มากมูล หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า โครงการสัมมนาวิชาการด้านวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ เรื่อง The turning point of soft power โอกาส และ จุดเปลี่ยนของ “ศิลปะ วัฒนธรรม พลังขับเคลื่อนซอฟท์เพาเวอร์ไทยสู่สายตาโลก” เพื่อสร้างองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรม (Fine Art) ด้านภาพยนตร์และวีดีทัศน์ (Film) เทศกาลประเพณีไทย (Festival) และ การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) โดยคำว่า”ซอฟต์พาวเวอร์” มีความหมายหรือคำนิยามที่หลากหลาย อำนาจที่ต้องใช้พลังปัญญา โดยที่ไม่ใช้อาวุธ เพื่อโน้มน้าวด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะต้องใช้กระบวนการ มีผู้รับมีผู้ส่งและต้องมีความเป็นสากลส่งต่อไปยังต่างประเทศ โดยวิทยากรเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับศิลปะมาให้มุมมองเรื่องของซอฟต์พาวเวอร์ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการสัมมนาครั้งนี้ ให้ภาครัฐเอกชน นักวิจัย และ คนทำงานด้านศิลปกรรม นำไปพัฒนา และประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และส่งเสริม สร้างความเข้าใจนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ไทยตามนโยบายของรัฐบาล