ข่าวการเมือง

นครพนม ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เขตตรวจราชการที่ 11 นำคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครพนม ลงพื้นที่สอดส่องโครงการ ขยายระบบส่งน้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

วันที่ 14 พ.ค. 2567 นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 11 ประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครพนม ลงพื้นที่สอดส่องโครงการขยายระบบส่งน้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกลาง 2 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มีพรชัย พิมพ์พงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง นายสันติพันธุ์ พันธุขันธ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดนครพนม ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและให้ข้อมูล

สำหรับโครงการก่อสร้างขยายระบบส่งน้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกลาง 2 ตำบลบ้านกลางอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม งบประมาณ 9,500,000 บาท เป็นโครงการที่ขยายต่อจากโครงการเดิมคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2567 แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2567 เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครพนมมีความเดือดร้อน ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านกลาง 2 ตำบลบ้านกลาง ซึ่งมีความยาวท่อไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ จึงเห็นสมควรต่อเติมระบบส่งน้ำเดิมเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร เพื่อนำน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนกระจายไปสู่พื้นที่เพาะปลูก ขยายระบบส่งน้ำ เพื่อส่งน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนไปยังพื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มผลผลิตต่อไร่และเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการอุปโภคบริโภคเพื่อให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี ความยาวท่อส่งน้ำเพิ่มขึ้น 1,516 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางท่อ 300 มิลลิเมตร เป็นท่อ HDPE มีจุดติดตั้งหัวจ่ายน้ำเป็นระยะ สามารถส่งน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนไปยังพื้นที่ทำการเกษตรและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ได้ 380 ไร่ราษฎรได้รับประโยชน์ 50 ครัวเรือน

นายพรชัย พิมพ์พงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง กล่าวว่า พื้นที่หมู่ 4 บ้านกลาง มีการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล เช่น พริก ข้าวโพด กะหล่ำปลี เป็นต้น รวมทั้งเลี้ยงไก่ไข่ในครัวเรือนด้วย โดยในฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำ การที่มีโครงการก่อสร้างขยายระบบส่งน้ำฯ ดังกล่าว ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลบ้านกลาง มีโครงการสูบน้ำด้วยระบบไฟฟ้า 4 แห่ง

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเขต 11 กล่าวว่า การดำเนินโครงการต่าง ๆ ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ยึดหลักความรับผิดชอบ มีความคุ้มค่า และลดผลกระทบให้มากที่สุด