ประชาสัมพันธ์

‘สสจ.นครพนม’ เดินหน้า PMQA พร้อมนำเกณฑ์คุณภาพมาใช้ ยกระดับองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ห้องประชุมร่มฉัตร (ชั้น 2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ดร.ศิริลักษณ์ ใจช่วง รักษาการนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมฯ โดยได้รับเกียรติจากนายชิตชนินทร์ นิยมไทย นักวิเคราะห็นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางสาวอังคณางค์ หัวเมืองวิเชียร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ

ดร.ศิริลักษณ์ ใจช่วง รักษาการนักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการองค์กร โดยนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กร โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ระยะ 20 ปี ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพ ที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชบสุขภาพดี มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยัยืน ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาความเป็นเลิศ 4 ด้าน คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ (Prevention & Promotion Excellence) 2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence) 3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence) และ 14) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) เพื่อขับเคลื่อนทุกหน่วยงานไปสู่เป้าหมาย

“ส่วนต้านบริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาให้งานคุณภาพการบริหารจัดการภาศรัฐ (PMQA) เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและองค์กรคุณภาพ โดยมีเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การส่งเสริมให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้พัฒนาคุณภาพขององค์กรเพื่อยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่าสากล และเพื่อมุ่งสู่องค์กรเป็นเลิศ”

สำหรับกำหนดการการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ในครั้งนี้ ในภาคเช้าเป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ เกณคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2562 แนวทางการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญขององค์การ แนวทางประเมินคนเอง (Self-Assessment) เทียบกับเกณฑ์รางวัลคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และวิธีการวิเคราะห์โอกาสในการปรับปรุงองค์การ (Opportunity of Improvement) และจัดลำตับความสำคัญของโอกาสในการปรับปรุงองค์การมาจัดทำแผนพัฒนาองค์กร ภาคบ่าย เป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดหมวด 7 หัวข้อ 7.1-7.6 ผลลัพท์การดำเนินการที่สะท้อนผลการดำเนินงานของส่วนราชการที่สำคัญ แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ที่โดดเด่น หมวด 1 การนำองค์กร และหมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อย

ในส่วนวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ภาคเช้า เป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ที่โดดเด่น หมวด 3 ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อย และภาคบ่าย เป็นการบรรยายพิเศษ หัวข้อ แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ที่โดดเด่น หมวด 5 บุคลากร และหมวด 6 การปฏิบัติการ ปิดท้ายด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อย และการนำเสนอแนวทางการเขียนผลงานที่โดดเด่น Best Practice