ประชาสัมพันธ์

ผู้ว่าสุรินทร์ เผยการก่อสร้างหอสูงงาช้างชมเมือง ยังอยู่ในการเสนองานในที่ประชุมยังไม่มีโครงการเขียนแบบ จะสร้างต้องประชาพิจารณ์ก่อน

กรณีที่มีเพจหลากหลายเพจได้โพสต์ข้อความว่าเรียกร้องกันมานาน วันนี้จะมีกะเขาแล้ว”หอสูงตะขอช้างชมเมือง”Landmark ใหม่จังหวัดสุรินทร์ (ตอนนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ) เอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร มีเรื่องราว ตะขอช้าง ที่น่าสนใจเป็นจุดขายใกล้ศูนย์ราชการที่บริเวณศูนย์ศิลปาชีพอีสานใต้ จะมีการสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองสุรินทร์ คาดว่าความสูงไม่ต่ำกว่า 69-89 เมตร โดยเรื่องราวความเกี่ยวพันและความเชื่อมโยงของ ช้าง ,คนเลี้ยงช้าง, หมู่บ้านช้าง, ความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์กวย, พี่น้องคนสุรินทร์, และการสืบต่อบทบาทช้างเลี้ยง ที่เป็นส่วนหนึ่งประวัติศาสตร์ชาติไทย ทุกๆวาระ ซึ่ง“ตะขอช้าง” เครื่องประกอบข้างกายของหมอช้างและควาญ จะปรากฏพร้อมๆกับ “แหย่ง” หรือ “สัปคับ” ที่บ่งบอกว่าสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเพื่อนที่ดีของมนุษย์ ทำหน้าที่พาหนะเดินทางผ่านช่วงเวลาตราบเท่าปัจจุบัน การฉายภาพครั้งนี้จะเป็นการบอกเล่าและส่งไม้ต่อ “ถิ่นช้างใหญ่” สุรินทร์บ้านเราอบอุ่นที่สุด#ขอให้ลูกหลานคนสุรินทร์คิดแลนด์มาร์คให้คนสุรินทร์ #หอสูงตะขอช้างชมเมือง #แลนด์มาร์คใหม่เมืองสุรินทร์จากนั้นก็มีจากแบบก่อนหน้าทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องก็พร้อมแก้ไข

จนล่าสุดมีการปล่อยภาพดีไซน์ใหม่ออกมา โดยเปลี่ยนจากตะขอช้างเป็นงาช้างคู่ มีคอนเซ็ปท์ดังนี้“หอสูงงาช้างชมเมือง” (อยู่ระหว่างการออกแบบ) หอสูงงาช้างชมเมือง เป็น “หอสูงคู่” แห่งแรกในเมืองไทย ความสูง 89 เมตร เป็นสื่อสัญลักษณ์ถึงช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย เป็นความหมายของการเป็นคู่ การดำรงอยู่ที่นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นศิริมงคล ที่รวมเอาของดีเมืองสุรินทร์ “ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย รำ่รวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” มาเป็นองค์ประกอบ 1.ส่วนฐาน ที่แสดงความแข็งแรงของโครงสร้าง “แหย่ง” เครื่องนั่งบนหลังช้าง เป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP, 2.ส่วนกลางของหอสูงที่ให้ความหมายพร้อมการใช้งานพิพิธภัณฑ์เมือง และ 3.ส่วนบนหอสูงที่สามารถชมเมืองสุรินทร์ มุมมอง 360 องศา และที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง คนสุรินทร์คิดเห็นอย่างไร‼️ #“หอสูงงาช้างชมเมือง”

⭕️หอสูงงาช้างชมเมือง เป็น “หอสูงคู่” แห่งแรกในเมืองไทย ความสูง 89 เมตร เป็นสื่อสัญลักษณ์ถึงช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย เป็นความหมายของการเป็นคู่ การดำรงอยู่ที่นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นศิริมงคล ที่รวมเอาของดีเมืองสุรินทร์ “ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย รำ่รวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” มาเป็นองค์ประกอบ 1.ส่วนฐาน ที่แสดงความแข็งแรงของโครงสร้าง “แหย่ง” เครื่องนั่งบนหลังช้าง เป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP, 2.ส่วนกลางของหอสูงที่ให้ความหมายพร้อมการใช้งานพิพิธภัณฑ์เมือง และ 3.ส่วนบนหอสูงที่สามารถชมเมืองสุรินทร์ มุมมอง 360 องศา และที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง #แบบร่างความคิดแบบที่แปด #หอสูงงาช้างชมเมือง #หอสูงคู่แห่งแรกเมืองไทย #แลนด์มาร์คใหม่เมืองสุรินทร์

ล่าสุดวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ศูนย์ศิลปาชีพอีสานใต้ ถนนบายพาสปราสาท-สังขะ ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ โดยพื้นที่เป็นบริเวณกว้างและเป็นพื้นที่สาธารณะของราชพัสดุ ยังไม่มีการก่อสร้างใดๆตามที่หลายเพจได้โพสต์ขอความคิดเห็นประชาชนชาวสุรินทร์

นายพิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้ขอพูดเรื่อง Landmark ของจังหวัดสุรินทร์ได้มีเพจหลายเพจไปลง ซึ่งตอนนี้ได้ขายความคิดของ Landmark ของสุรินทร์ก็จะมีเพิ่มเติมของแหล่งท่องเที่ยว ถ้าเราหยุดนิ่งอยู่กับที่อย่างนี้เราก็เหมือนเดิม ผมเลยคิดว่าเพื่อจะดึงดูดนักท่องเที่ยวก็น่าจะมี Landmark สักแห่งก็เลยได้เสนอไอเดียไปก็ตั้งกรรมการชุดมาศึกษาความเป็นไปได้ว่าเราจะเอา Landmark ที่ไหนอย่างไรรูปร่างอย่างไร จะเอาช้างซึ่งเป็นสัญลักษณ์จังหวัดสุรินทร์มาทำรูปแบบอย่างไรนั้น ตอนนี้ได้ตั้งคณะกรรมการมาศึกษาก่อนคือสำรวจความคิดอะไรก็ว่าไปกับประชาชน ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ได้รูปแบบและที่ไหนอย่างไรเพราะเป็นของการศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อมีคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้เรียบร้อยมีโอกาสเป็นไปได้ก็พร้อมที่จะพูดคุยกับประชาชน โดยถ้าจะทำประชาชนอย่าทำเราก็จะเอารูปแบบไปให้ความเห็น รวมทั้งแจ้งไปยังทุกอำเภอให้มีมติร่วมกันว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอยากทำรูปแบบไหนอย่างไร ซึ่งตอนนี้เป็นขบวนการศึกษาความเป็นไปได้ ความเป็นไปได้ก็คงใช้ระยะเวลาปี 2566-2567 ก็น่าจะดูความเห็นของประชาชน ถ้ามีความเห็นตกผลึกอยากให้ทำประชาชนอยากให้ทำรูปแบบไหนก็จะได้ถามก็ออกแบบก็ออกแบบขั้นตอนสุดท้าย ออกแบบเสร็จต้องเข้าแผนจังหวัดสุรินทร์ แผนก็คือเราถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ถ้าขอในปี 2567 ของในปีงบประมาณนี้ก็คงสามารถเริ่มต้นได้ในปี 2569 ซึ่งผมจะเกษียณในปี 2567 ก็ได้เฉพาะแนวความคิด ส่วนการดำเนินการก็ต้องเป็นภาระของท่านผู้ว่าราชการคนต่อไปว่าจะทำไม่ทำอยู่ที่ความต้องการของพี่น้องประชาชนที่จะผลักดันแนวความคิดนี้ ก็ขอฝากทุกท่านที่ได้รับทราบข่าวสารซึ่งจะได้เป็นแนวทางเดียวกัน

น.ส.จีรภา บุญธรรม หรือเจี๊ยบ (เสื้อคอกลมสีขาว) ผู้ประกอบการกีฬาสยาม กล่าวว่า ตนเห็นแล้วว่ามีการโพสต์รูปภาพและข้อความ ซึ่งคิดว่าเห็นด้วยนะแต่จะมีการโปโมทออกมาพร้อมทั้งต้องสำรวจสอบถามประชาชนชาวสุรินทร์ก่อน ส่วนรูปแบบนั้นจังหวัดสุรินทร์เป็นเมืองช้างก็น่าจะสร้างรูปแบบช้าง โดยตนก็ห่วง ๆ ว่าสร้างเสร็จจะไม่มีใครดูแลรักษาให้อยู่นานๆต่อไป

นางนันทยา สุนทรพนาเวศ หรือเจ๊หลา แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวเป็ด (เสื้อสีชมพู) กล่าวว่า เห็นด้วยถ้าสร้าง Landmark ในจังหวัดสุรินทร์ เพราะทำให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาชมและจะทำให้เศษรฐกิจดี แต่ถ้าจะทำก็ขอให้ทำแบบสอบถามพี่น้องประชาชนชาวสุรินทร์ก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ส่วนตัวถ้าชอบก็ชอบรูปแบบช้างสูงใหญ่ สิ่งที่กลัวจะเป็นว่าถ้าสร้างมาแล้วเรื่องการดูรักษาและการโปโมทเพื่อให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวนั้นจะเป็นไปได้ไหม