ข่าวสังคม

‘สสจ.นครพนม’ เดินหน้าพัฒนา องค์ความรู้ทักษะ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่ห้องประชุมเทพวรมุณี ศูนย์ประชุมสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายขันชัย ขันทะชา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชการ) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกผู้ป่วยและการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล ในผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครพนม ประจำปี พ.ศ. 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม โดยกลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกผู้ป่วยและการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล ในผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครพนม ประจำปี พ.ศ. 2566

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่สำคัญเร่งด่วน คือ นโยบาย Quick Win 100 วัน , นโยบาย EMS (Environment, Modernization and Smart Service) คือ การพัฒนาให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนต่อการจัดบริการรูปแบบใหม่ให้ครอบคลุม ในทุกมิติสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมที่มีความทันสมัย รวมถึงการยกระดับศักยภาพการบริการสาธารณสุข (SAP) การยกระดับศักยภาพบริการสู่ความมั่นคงด้านสุขภาพ ซึ่งมีโจทย์สำคัญ คือ One Service One Hospital ซึ่งคำนี้เป็นเพียงพิธีการ แต่เป้าหมายที่อยากให้เกิดขึ้นจริงๆ คือ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็น “โรงพยาบาลของประชาชน” และเปลี่ยนไปตามยุคสมัยซึ่งโรคยุคใหม่ สังคมยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อก่อนคนจะอยู่ในชนบท แต่ตอนนี้คนในชนบท หรือในเมืองคุณภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันมาก “การยกระดับบริการการแพทย์และสาธารณสุขสู่ระบบดิจิตอล” นั้น เป็นการใช้ระบบการแพทย์ทางไกล เพื่อลดการเดินทาง ลดค่าใช้จ่ายแก่ประเทศ พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ เพิ่ม Cyber security และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์

นายขันชัย ขันทะชา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชการ) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เหตุผลสำคัญของการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน คือ การคัดแยกผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ และที่โรงพยาบาล ตลอดจนการรับไว้สังเกตอาการ ณ ห้องฉุกเฉิน ซึ่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติโดยใช้ความรุ้ความสามารถ และตัดสินใจอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู่ป่วยปลอดภัยและบรรเทาจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในห้วงเวลาสำคัญเทศกาลงานประจำปีต่าง ๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ที่ใกล้จะถึงนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการการคัดแยกผู้ป่วยและการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาล ในผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดนครพนม ประจำปี พ.ศ. 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2566 หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วย “แนวทางการดูแลและบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยนางทิพย์วิภา สังข์อินทร์ พยาบาลวิชีพชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม หัวข้อ “หลักการและความสำคัญ Advanced Traumatic Life Support : ATLS หัวข้อ Airway + C- SPINE PROTECTION หัวข้อ Ventilation, Circulation และหัวข้อ Disability + Pt. Packing and Transfer วิทยากรบรรยายโดยนายแพทย์ฐิติบุตร ธีระสรเดช แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพนม โดยมีการฝึกเชิงปฏิบัติการ 4 ฐานเพื่อเพิ่มทักษะและความรู้