ข่าวสังคม

อำนาจเจริญ ผอ.ชลประทานแจงรายละเอียดการบริหารน้ำให้เพียงพอ ในการใช้อุปโภค-บริโถค ช่วงหน้าแล้งปีนี้อย่างแน่นนอน

วันที่ 21 มีนาคม 2567 นายกันตสิษฐ์ ธนพนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอำนาจเจริญ กล่าวว่าสภาพน้ำท่าน้ำฝนในเขตพื้นที่โครงการชลประทานอำนาจเจริญ ปริมาณปริมาณน้ำฝนในเขตโครงการชลประทานอำนาจเจริญ (สะสมเทียบตั้งแต่ 1 ม.ค. ถึง 19 มี.ค. )อ่างฯ/เขื่อน ฝนเฉลี่ยคาบ 10 ปี ย้อนหลัง สะสม ปี 65(มม.) สะสม ปี 66(มม.) สะสม ปี 67(มม.) ปี 2567 เทียบ ปี 2566 (-/+) อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน 1,440.15 56.50 3.00 6.30 3.30 อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ 1,391.67 83.80 4.20 14.40 10.20อ่างเก็บน้ำร่องน้ำซับ 1,488.74 52.70 2.40 13.60 11.20 อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท 1,692.45 91.90 48.90 9.40 -39.50เขื่อนลำเซบาย 1,847.64 64.00 0.00 0.00 0.00

สภาพน้ำท่าในอ่างเก็บน้ำ 4 อ่าง 1 เขื่อน ความจุ รวม 49.989 ล้าน ลบ.ม. : ปัจจุบันมีความปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ณ วันที่ 19 มีนาคม 2567 จำนวน 27.970 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 55.95 ของความจุ ปริมาณน้ำใช้การได้ 25.918 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51.85 ของความจุ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ (สำหรับน้ำอุปโภค – บริโภค เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนไม่มีปัญหา)เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว (ปี 2567) 55.95% – (ปี 2566) 51.31 % ภาพรวมปริมาณน้ำสูงกว่าปีที่ 4.65 %เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (ปี 2567) 55.95 % – (ปี 2563 – 2566) 52.50 % ผลต่างคิดเป็น 3.46 %เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปี ย้อนหลัง (ปี 2567 ) 55.95 % – (ปี 2557-2566) 46.09 %ผลต่างคิดเป็น 9.86 %ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ สะสมปี 2567 จำนวน 2.702 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 5.25 ของค่าเฉลี่ย (51.449 ล้าน ลบ.ม.) ส่วนแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67 (ในเขตชลประทาน)โครงการชลประทานอำนาจเจริญ กำหนดระยะเวลาการส่งน้ำ ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรจะเริ่มดำเนินการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เริ่มจากอ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ อ่างเก็บน้ำ ร่องน้ำซับ อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท และเขื่อนลำเซบาย โดยกำหนดดังนี้

  • อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน จัดประชุม (JMC) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 มีมติที่ประชุมร่วมกันว่างแผน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในการวางแผน 18.107 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆรวม 5.253 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น อุปโภค-บริโภค 0.948 ระบบนิเวศ 0.491 อื่นๆ(ระเหย+รั่วซึม) 2.353 การเกษตร 1.461 พื้นที่เพาะปลูก 408 ไร่ (ต.บุ่ง,ต.ไก่คำ,ต.นาจิก) ผลเพาะปลูกไปแล้วรวม 408 ไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้ 4.232 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ จัดประชุม (JMC) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 มีมติที่ประชุมร่วมกันว่างแผน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในการวางแผน 6.794 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆรวม 2.610 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น อุปโภค-บริโภค 0.019 ระบบนิเวศ 0.423 อื่นๆ(ระเหย+รั่วซึม) 0.689 การเกษตร 1.480 พื้นที่เพาะปลูก 403 ไร่ (ต.โนนโพธิ์) ผลเพาะปลูกไปแล้วรวม 403 ไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้ 1.929 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำร่องน้ำซับ จัดประชุม (JMC) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 มีมติที่ประชุมร่วมกันว่างแผน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในการวางแผน 0.295 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆรวม 0.144 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น อุปโภค-บริโภค 0.000 ระบบนิเวศ 0.000 อื่นๆ(ระเหย+รั่วซึม) 0.066 การเกษตร 0.078 พื้นที่เพาะปลูก 21 ไร่ (ต.บุ่ง) ผลเพาะปลูกไปแล้วรวม 21 ไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้ 0.073 ล้าน ลบ.ม.
  • อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท จัดประชุม (JMC) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 มีมติที่ประชุมร่วมกันว่างแผน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในการวางแผน 10.020 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆรวม 5.043 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น อุปโภค-บริโภค 1.292 ระบบนิเวศ 0.140 อื่นๆ(ระเหย+รั่วซึม) 1.676 การเกษตร 1.458 พื้นที่เพาะปลูก 481 ไร่ (ต.สร้างนกทา,ต.หนองมะแซว) ผลเพาะปลูกไปแล้วรวม 481 ไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้ 3.238 ล้าน ลบ.ม.
  • เขื่อนลำเซบายอำนาจเจริญ จัดประชุม (JMC) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 มีมติที่ประชุมร่วมกันว่างแผน โดยปริมาณน้ำที่ใช้ในการวางแผน 9.936 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆรวม 1.438 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น อุปโภค-บริโภค 0.000 ระบบนิเวศ 0.000 อื่นๆ(ระเหย+รั่วซึม) 0.000 การเกษตร 1.438 พื้นที่เพาะปลูก 471 ไร่ (ต.สร้างถ่อน้อย,ต.จิกดู่) ผลเพาะปลูกไปแล้วรวม 471 ไร่ ปริมาณน้ำที่ใช้ 1.351 ล้าน ลบ.ม.
    **แผนการเพาะปลูกอาจจะมีการปรับแผนให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุน
    มาตรการเตรียมความพร้อมและแนวทางการช่วยเหลือ
    ติดตาม วิเคราะห์ แนวโน้มสถานการณ์และสั่งการโดยศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน
    โครงการฯ ได้ติดตาม 9 มาตรการ 6 แนวทางของกรมชลประทาน รองรับฤดูแล้ง 2566/2567 เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง
    ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับทราบสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
    ได้เตรียมรถบรรทุกน้ำ ความจุ 8,000 ลิตร จำนวน 1 คัน เพื่อช่วยเหลือกรณีราษฎรร้องขอ
    ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำด้วยน้ำมัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว จำนวน 14 เครื่อง โครงการฯ เน้นย้ำทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝน ปี 2566 “เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำมี”เพียงพอสำหรับการใช้น้ำตลอดฤดูฝน ปี 2566 และเก็บกักไว้ใช้ฤดูแล้ง ปี 66/67”ตนขอฝากถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญว่าท่านไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอในการนำมาผลิตเป็นน้ำประปา นำมาใช้ในการเกษตรเพาะปลูกพืชสวนในการเกษตร เพราะทางชลประทานมีการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างดี ตลอดในช่วงหน้าแล้งนี้ประชาชนจงเชื่อมั่นในการบริหารจัดการน้ำ ในการอุปโภค-บริโภคและเพาะปลูกพืชสวนการเกษตรได้อย่างเพียงพอครับ