ข่าวเศรษฐกิจ

จนครพนม ประเมินศักยภาพความเหมาะสม เพื่อเตรียมการขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิตกล้วย “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ”

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นางสงวน จันทร์พร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย นายกัมปนาท จักรวาล วิเวศ ศรีพุทธา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ลงพื้นที่ประเมินศักยภาพและความพร้อม การปลูกกล้วยตานี (เพื่อใช้ใบตอง) “ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง หรือห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)มุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า ที่เกิดจากรากฐานในการผลิตที่ดี มีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันเสมือนห่วงโซ่ ที่เน้นการใช้ทรัพยากรต่างๆในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมีประเด็นในการแลกเปลี่ยนจาก 3 กลุ่มสำคัญๆ คือ กลุ่ม(ต้นทาง)ผู้ปลูกกล้วยตานี กลุ่ม(กลางทาง) ผู้แปรรูปหรือบรรจุภัณฑ์ใบตอง (รีดใบตอง) กลุ่ม(ผู้ใช้ประโยชน์)/การตลาด) ผู้ใช้ใบตองห่อกะละแม ร่วมนำเสนอข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อน ตามแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้”(ความต้องการซื้อ และความต้องการขาย) สาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ จุดที่ 1 กลุ่ม(ต้นทาง)ผู้ปลูกกล้วยตานี ตรวจเยี่ยมแปลงนางใบสวน คำสี และนายรัตนชัย คำสี บ้านเลขที่ 6 ม.3 ต.บ้านกลาง อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม (ปลูกกล้วยตานี 4 ไร่ /เลี้ยงไก่ 1,400 ตัว) และมีทีมผู้นำชุมชนประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวม 13 หมู่บ้าน ผู้ร่วมให้ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจให้การสนับสนุนการใช้ประโยชน์ห่วงโซ่การปลูกกล้วยตานี จุดที่ 2 กลุ่ม(กลางทาง)ผู้รีดใบตองส่งร้านค้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบรรจุภัณฑ์ใบตอง บ้านโคกสว่างพัฒนา หมู่ที่ 7 ตำบลธาตุพนมเหนือ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยกลุ่มมีแหล่งวัตถุดิบ (ใบตองสด) จากพื้นที่ปลูกกล้วยตำบลท่าค้อ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครพนม รวมถึงพื้นที่โคก หนอง นา ในเขตจังหวัดนครพนม มีสถานที่จำหน่ายใบตองรีด ได้แก่ ร้านกะละแมสุขสบาย ร้านกะละแมพรประเสริฐ ร้านกะละแมตุ๊กตา และร้านกะละแมในเขตจังหวัดนครพนม โดยร้านกะละแมดังกล่าวจะมีความต้องการใบตองรีดสูงในช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ เช่น เทศกาลปีใหม่ งานนมัสการพระธาตุพนม เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบรรจุภัณฑ์ใบตอง มีรายได้เฉลี่ยประมาณปีละอย่างน้อย 600,000 บาท จุดที่ 3 กลุ่ม(ปลายทาง/การตลาด)ผู้ใช้ประโยชน์บรรจุภัณฑ์ใบตอง (ใบตองรีด) ร้านกาละแมครูน้อย บ้านโคกสว่างพัฒนา หมู่ที่ 7 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ใช้ประโยชน์จากใบตองรีดมาห่อกะละแม ทางร้านให้ข้อมูลว่า มีปริมาณความต้องการใบตองที่รีดแล้วเดือนละอย่างน้อย 1-2 แสนใบตองที่รีดแล้ว ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆ ต้องนำเข้าจากต่างจังหวัดแทน

ด้านมหาวิทยาลัยนครพนม โดย ดร.คมศักดิ์ หารไชย อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม กล่าวว่า หากการขับเคลื่อนโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นการต่อยอดผลงานวิจัย โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการตลอดสายโซ่ผลิตภัณฑ์กะละแมโบราณนครพนม ด้วยกลไกขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่บนฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่น ” ทุนสนับสนุนการวิจัยจาก กรอบวิจัย Localenterprises ประจำปี 2565 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมลงพื้นที่ เพื่อขยายผลในพื้นที่จังหวัดนครพนมอย่างบูรณาการ และยั่งยืน ให้เกิดผลกระทบด้านรายได้ สังคม สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต คนในชุมชน ให้มีอาชีพ มีรายได้ ซึ่งได้ร่วมขับเคลื่อนกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนมต่อเนื่องเรื่อยมา 2 ปีที่ผ่านมา

นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม นางวรนุช กรุงเกต ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและทีมนักวิชาการพัฒนาชุมชน ร่วมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากงานวิจัยเรื่องใบตองแล้ว มหาวิทยาลัยนครพนม ยังคิดรูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกและมาตรฐานใบตองรีด และแนวทางการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม (เตารีดใบตอง, เครื่องปั๊มใบตอง) รวมถึงสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ได้เก็บข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า มีการเชื่อมโยงช่องทางการตลาดเครือข่ายกลุ่มแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ในธุรกิจอื่นๆ เช่น หมูยอ ธุรกิจแหนม การห่อข้าวต้มมัด การทำพานบายศรี ขันหมากเบ็ง เศียรพญานาค เพื่อบูชาองค์พระธาตุพนม และพระธาตุสำคัญประจำวันเกิด ทั้ง 7 พระธาตุในจังหวัดนครพนม รวมถึงการทำพานบายศรีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดนครพนม ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ได้สักการะบูชาอีกด้วย

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้กล่าวว่า เมื่อคราวประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการยกระดับเมืองรองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1/2567 วันที่ 10 มกราคม 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล ตามโครงการยกระดับเมืองรองสู่เมืองหลัก 10 จังหวัด หนึ่งในนั้นมีจังหวัดนครพนมด้วย โดยกำหนด 3 แกนหลักสำคัญ คือ Unlock Potential เมืองรอง (Tourism,Cultural,and Food)และส่งเสริมเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรมไทยที่ดี/ยกระดับระบบคมนาคมเชื่อมโยงจังหวัดใกล้เคียง/เร่งส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ เป็นต้น สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี (สาธารณูปโภคพร้อม/เป็นโมเดลต้นแบบเมือง Net Zero/จัดระบบจัดการขยะครบวงจร) ช่วยเหลือเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย/มาตรการส่งเสริมคนเก่งกลับภูมิลำเนา/ส่งเสริมการจ้างแรงงานเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ คนพิการ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น)

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้มีข้อสั่งการดังนี้ จัดทำแผนการขับเคลื่อนบูรณาการห่วงโซ่การผลิตกล้วย “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ตั้งแต่การปลูกกล้วย/การดูแลรักษา/โรคภัยต่างๆและการจำหน่ายสู่ร้านค้าที่ใช้ประโยชน์ พิจารณากลุ่มเป้าหมายนำร่องใน 2 ลักษณะ คือ ในครัวเรือนของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของกรมการพัฒนาชุมชน เชื่อมโยงหมู่บ้านต้นเงิน ของมหาวิทยาลัยนครพนม ได้ทำวิจัยไว้แล้ว และพิจารณาปลูกในพื้นที่โคก หนอง นา โมเดล จัดหาแหล่งงบประมาณมาสนับสนุน การดำเนินโครงการ เช่น งบพัฒนาจังหวัด การระดมทุนจากกองทุนชุมชน เช่น กองทุนหมู่บ้านฯ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ การจัดทำผ้าป่า เป็นต้น รวมถึงองค์กรการกุศลของจังหวัด เช่น มูลนิธิพญาศรีสัตตนาคราค ให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม จัดทำแนวทาง/จัดทำแผนงาน/โครงการให้พร้อมสำหรับเตรียมการขับเคลื่อนโครงการฯ