ประชาสัมพันธ์

สุรินทร์ อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ

วันอังคาร ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 น. ที่ห้องประชุมกุญชรศุภศรี ชั้น 9 อาคาร 100 ปี นพ.เฉลียว สัตตมัย ประธานกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เขตสุขภาพที่ 9 ร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy & Health Communication) โดยมีนางอัสนี นาคาวงค์ หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลสุรินทร์ การสาธารณสุขไทย โรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวถึงโครงการ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมนานๆ นำซึ่งโรค NCDS หรือ non-communicable diseases หรือที่เรามักเรียกว่า “โรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง” เป็น กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนิน ชีวิตของเรา

โดยจะมีการสะสมอาการอย่างช้าๆ และต่อเนื่องหากไม่ได้รับการรักษาที่ ถูกต้อง จะยิ่งทำให้เกิดการเรื้อรังของโรคตามมา ซึ่งเป็นผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและคนรอบ ข้าง และในแต่ละปีพบว่าทั่วโลกมีคนเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs มากถึง 74% หรือ ชั่วโมงละ 37 คน โดยมักเป็นผู้ป่วยในช่วงวัยทำงาน ที่ใช้ชีวิตไม่ถูกต้องมีพฤติกรรมเสี่ยง ที่นำไปสู่การเกิดโรค เช่น ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารรสจัดเกินไป ทานอาหารไขมันสูง เครียดสะสม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทานอาหารประเภทปิ้งย่างบ่อยเกินไป เป็นต้น โรคในกลุ่ม NCDร ที่มีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงสุด 7 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด สมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วนลงพุง

จากสถิติกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่ากลุ่มวัยทำงานมีภาวะอ้วน ร้อยละ 37.5 พบเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 24.7 วัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาในที่ทำงานไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากไม่มีการดูแลสุขภาพของตนเองที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และการที่จะสามารถป้องกันหรือลดโรคติดเชื้อ และโรคไร้เชื้อที่สำคัญเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องจัดการแก้ไขที่สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักคือ พฤติกรรมเสี่ยงของบุคคล ดังนั้น กลุ่มงานสุขศึกษา คณะกรรมการ และสหสาขาวิชาชีพ จึงได้อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ขึ้น

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพครั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความรอบรู้ด้านสุขภาพและการ สื่อสารสุขภาพ ให้บุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานซึ่งจะเป็น ผลดีต่อองค์กร ให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง ในการพัฒนาองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy Organization) สู่องค์กรต้นแบบในการดูแลสุขภาพ และทำให้เกิด การสื่อสารสุขภาพ (Health communication) ขยายผลสู่ประชาชนและผู้รับบริการให้ เกิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อไป