ประชาสัมพันธ์

มหาสารคาม กรมชลประทานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) แก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วม มหาสารคามมีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ 3 อำเภอ 21 ตำบล

ที่หอประชุมอำเภอกันทรวิชัย อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม นายกนก ศรีวิชัยนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานเปิดการประชุมเสวการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ โขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) ในเวทีที่ 5 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วมรับฟัง เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
นางดรรชณี เฉยเพ็ชร ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กล่าวว่า เวทีที่มหาสารคามวันนี้เป็นเวทีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ ขอบเบตการศึกษา แนวคิดการพัฒนาดครงการเบื้องต้นให้ผู้ส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาและเป็นแนวทางปฏิบัติงานของโครงการฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำชี ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกา ภาคประชาสังคม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรผู้ใช้น้ำ สภาเกษตรกร เป็นต้น

สืบเนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ 103.5 ล้านไร่ มีลุ่มน้ำหลักที่สำคัญ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำโขงอีสาน ลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล มีพื้นที่การเกษตร 63.85 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่เกษตรชลประทานเพียง 8.69 ล้านไร่ พื้นที่การเกษตร ส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ประชาชนประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาขาดแคลนน้ำอันเกิดจากฝนทิ้งช่วงในฤดูฝน และการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนมีน้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบสูง สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล โดยแรงโน้มถ่วง ระยะที่ 1 (ระบบส่งน้ำ) วันนี้เป็นเวทีที่ 5 ของมหาสารคาม มีเป้าหมายนำน้ำจากแม่น้ำเลย เข้าสู่การพัฒนาในประเทศในการพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมใน 6 จังหวัด มีพื้นที่ชลประทานที่ตั้งเป้า 1.73 ล้านไร่ ซึ่งจะมีทั้งระบบสูบน้ำ และระบบคลอง

โดยในพื้นที่ จ.มหาสารคาม มีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์ 3 อำเภอ 21 ตำบล พื้นที่ได้รับโยชน์ประมาณ 240,000 ไร่ โดยจะมีการศึกษารูปแบบความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบชลประทานที่เหมาะสม มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในส่วนของระบบส่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งในการศึกษา 540 วัน จะมีการลงพื้นที่พะปะ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สอบถามความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง นำไปสู่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หาแนวทางป้องกัน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นนตอนของการศึกษา เพื่อประโยชน์ของประชาชน